วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำถาม ระบบสารสนเทศบทที่2-14

แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 1
 1.ระบบสารสนเทศคืออะไร และระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมนุษย์
    อย่างไรบ้าง
                        -ระบบสารสนเทศ คือ  การนำเอาองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบ มาใช้ใน การ
                รวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการ และ
                สนับสนุน การตัดสินใจ
                        -ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ก็คือในปัจจุบันการดำเนินงานทางธุรกิจ หรือแม้
                กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันในปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นักธุรกิจหรือบุคคลทั่วไป
                ต่างก็มีความต้องการบริโภคข่าวสารมากขึ้นเพื่อให้ทันต่อโลกเทคโนโลยี และใช้สารสนเทศ
                เพื่อดำเนินธุรกิจ เช่นกันทำให้ข่าวสารเป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นจะต้องได้รับทราบและเข้าถึงให้ได้
                อย่างรวดเร็ว
                  2.ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
                      -ข้อมูล  หมายถึง  กลุ่มตัวอักขระ หรือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล
                ส่วนสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการสรุป หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยว
                ข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ  และความรู้คือการรับรู้และความเข้าใจในสารสนเทศจน
                สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้  มีความเข้าใจ   จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลอง
                 ทางความคิด  และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ ปัญหาในการดำเนินงานได้้
                 3.  ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่ว ๆ ไปมีอะไรบ้าง
                         -ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
                                    1.การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)
                                    2.การประมวลผล (Processing)
                                    3.ผลลัพธ์ (Output) 
                          นอกจากนี้แล้วในระบบสารสนเทศอาจมีการส่งข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback)
                 
                   4.  ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CBIS) คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
                        - ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ  รวบรวม
-              จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ประกอบด้วย
                         1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า
                 และการจัดเก็บข้อมูลประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์
                         2.  ซอฟต์แวร์ (Solfware)คือกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์
                 และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
                         3.  ข้อมูล (Data)หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล อาจอยู่ในรูป
                 ของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ และเสียง       
                         4.  การสื่อสารและเครือข่าย คือ การ เชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย
                 เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้
                          5.  กระบวนการทำงาน (Procedure)คือกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงาน
                 กับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปจะเขียนเป็นคู่มือ
                          6.  บุคลากร (People)หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
                 
                   5.จงบอกตัวอย่างระบบไดๆมา 1ระบบ พร้อมทั้งจำ่แนกส่วนประกอบและเป้าหมาย
                         -ระบบการคีย์ลงเวลาเข้า ออกงานในคอมพิวเตอร์  
                         ประกอบด้วย 1. เครื่องคอมพิวเตอร์  2. โปรแกรมลงเวลา 3.ฐานข้อมูลจัดเก็บการลงเวลา
                 4.ผู้ใช้งานลงเวลา
                          เป้าหมาย เพื่อให้ทราบและเก็บรวบรวมเวลาการเข้าออกงาน การทำงาน เพื่อใช้เป็น
                 ข้อมูลในการคิดเงินเดือนและหักเงินเดือน รวมถึงเก็บเป็นข้อมูลในการจ่ายโบนัส
                 
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 2
1.ให้พิจารณาจากใบโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป แล้วระบุรายละเอียดของสิ่ง
ต่อไปนี้
                         -ซีพียู Intel Core 2 Duo E6320
                         -หน่วยความจำหลัก 1 GB 667 MHz DDR2
                         -อุปกรณ์รับข้อมูล Combo DVD-Drive,9 USB2.0,Multimedia Keyboards
                         -อุปกรณ์แสดงผล NVIDIV GeForce 7600gs, 17"socos
                         -อุปกรณ์การสื่อสาร Lan Onboad
                         -อุปกรณ์จัดการสื่อสาร Intel945pl(chipset)
                         -ซอฟต์แวร์ระบบ Windows xp,me,lenux
                         -ซอฟแวร์ประยุกต์ Microsoft World,excel
                 
                 2.ถ้าท่านผู้จัดการด้านคอมพิวเตอร์ และต้องให้คำแนะนำในการจัดหาคอมพิวเตอร์
                เพื่อใช้ในงานสำนักงาน ท่านจะแนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด ระบุเหตุผล
                         -คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)เพราะ มีขนาดเล็กเหมาะกับการตั้งโต๊ะ
                ในสำนักงาน มีความที่เหมาะกับงาน ไม่ต้องลงทุนมากใช้งานได้ง่าย ง่ายต่อการใช้งาน
                 ของบุคคลากร ง่ายต่อการติดตั้ง ประหยัดเนื้อที่
                       
                  3.หากท่านต้องการลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาค การ
                 ศึกษาหน้า ท่านมีแนวคิดที่จะเลือกเรียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ใด ระบุเหตุผล
                 ประกอบ และท่านคิดว่าโปรแกรมเมอร์มืออาชีพจำเป็นต้องรู้มากกว่า 1ภาษา
                 หรือไม่ เพราะเหตุใด
                          -PHP,HTML,JAVA,VITUAL.NET เพราะเป็นภาษาที่คิดว่าอนาคตต้องได้ใช้งาน
                 และเป็น ภาษาที่ไม่ตายง่าย
                          -จำเป็นต้องรู้อย่างแน่นอน เพราะบางงานต้องใช้ภาษาคำสั่งมากกว่า 1 ภาษา และแต่ละ
                 ภาษาอาจเหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง
                  4.จงยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบมา 3 อย่าง
-                        -Window
                          -LINUX
                          -UNIX
                  5.ให้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาอย่างละ 3
                  ตัวอย่าง
                          - Hard ware
                                     1. จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ราคาถูกลง
                                     2. จะมีขนาดเล็กลง
                                     3. จะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น
                          - Software
                                     1. จะมีโปรแกรมใหม่ๆเกิดขึ้น ให้เลือกใช้มากขึ้น
                                     2. โปรแกรมจะใช้งานง่ายขึ้น
                                 3. มี การแข่งขันกันพัฒนา Software มากขึ้น
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 3
  1.จากภาพที่กำหนดให้ จงอฐิบายความหมายของคำต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง
       1)  ฐานข้อมูล(database) หมายถึง ศูนย์กลางที่เก็บรวบรวม กลุ่มของข้อมูลไว้ โดยมี
                ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เพื่อตอบสนองต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการซ้ำซ้อน
                ของข้อมูล รวมทั้งลดความขัดแย้งของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรด้วย ซึ่งฐานข้อมูลมีด้วยกัน
                หลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้แก่
                                       1.ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น   
                                       2.ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย         
                                       3.ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
                ซึ่งการใช้ระบบฐานข้อมูลมีข้อดีดังนี้
                                       1.สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
                                       2.หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ 
                                       3.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หลายฝ่ายทั้งองค์กร
                                       4.สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
                                       5.สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
                                       6.สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
                                       7.เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
                 และจากรูปภาพเป็นการจัดเก็บฐานข้อมูลแบบกระจาย คือมีการจัดเก็บฐานข้อมูลย่อยของ
                 องค์กรไว้ตามที่ต่างๆ แทนที่จะเ็ก็บไว้ที่ส่วนกลางเพียงแห่่งเดียวโดยที่ทุกที่สามารถสื่อสาร
                 กันได้
                       2)คลังข้อมูล(data warehouse) หมายถึง ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กร ซึ่งเก็บ
                 รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล ระบบงานประจำวัน(ภายในองค์กร) และฐานข้อมูลอื่นภาย นอก
                 องค์กร โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในคลังข้อมูลนั้น มีวัตถุประสงค์ ในการนำมาใช้งานและมีลักษณะ
                 ของการจัดเก็บแตกต่างไปจากข้อมูลในฐานข้อมูลระบบงานอื่น  มีการกลั่นกรองเป็นมาตรฐาน
                 เดียวกัน เพื่อสะดวกและง่ายต่อการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของ  ผู้บริหาร
                 โดยเฉพาะการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบงาน เพื่อการบริหารงานอื่น
                 ซึ่งจากรูปภาพ data warehouse  ตำแหน่งรูป A ครับ
                       3)กาต้ามาร์ท(data mart)  หมายถึง คลังข้อมูลขนาดเล็กมีลักษณะเฉพาะเจาะจงมาก
                 กว่าสำหรับใช้ในธุรกิจ มีขนาดของข้อมูลและค่าใช้จ่ายต่ำ การจัดทำคลังข้อมูลใช้เวลาสั้น
                 การนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจสะดวกกว่าการใช้คลังข้อมูลกลางขององค์การ
                 เช๋น ฐานข้อมูลบุคคล และฐานข้อมูลงานขายในรูป
                       4) ดาต้าไมนิ่ง (datamining) หมายถึงเครื่องมือและเทคนิคในการสกัด (Extract)
                 ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ชั้นสูง จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โดยสามารถหารูป
                แบบแนวโน้ม พฤติกรรม ความสัมพันธ์ที่ซ่อนในข้อมูลเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือลักษณะต่อไปนี้
                                        1. ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง(Association)               
                                        2. ลำดับของข้อมูล  (Sequence)
                                        3.การหากฎเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม (Classification)
                                        4.การจัดกลุ่มของความคล้ายคลึง  (Cluster)            
                                        5.การพยากรณ์(Forecasting)
                       5)การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (OLAP) หมายถึง  เครื่องมือที่มีความ
                  สามารถในการค้นหา และวิเคาระห์ข้อมูล จากคลังข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้       
                  ใช้ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆเช่น          
                                       1.การหมุนมิติ (Rotation) 
                                       2.การเลือกช่วงข้อมูล (Ranging)
                                       3.การเลือกระดับชั้น (Hierarchy)
                      6)จากภาพที่กำหนด A B และ C ให้ จงระบุและอธิบายว่า A,B และC หมายถึง
                                        A คือ คลังข้อมูล (data warehouse)
                                        B คือ ดาต้ามาร์ท (data mart)
                                        C คือ OLAP , Data Mining
                    2.จงอธิบายถึงประโยชน์ของคลังข้อมูลที่มีต่อพนักงานปฏิบัติการขององค์การ
                          พนักงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หลายฝ่ายทั้งองค์กร หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
                 ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ ข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีระบบความปลอดภัยของข้อมูลสูง
                 ใช้งานข้อมูลได้อย่างอิสระ
                                     
                    3.ธุรกิจอัฉริยะ(Business Intelligence)คืออะไร และมีการนำไปใช้งานอะไร       
                          เป็นการใช้ข้อมูลขององค์การที่มีคุณค่ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดำเนินงาน
                 ของธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการค้นพบโอกาส
                 ใหม่ๆ ในการดำเนินการทางธุรกิจกระบวนการหลักๆของธุรกิจอัจริยะคือ การสนับสนุนการตัด
                 สินใจ การคิวรีการรายงาน การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์(olap)
                 การใช้งานเช่น การจัดทำประวัติของลูกค้า  การประเมินถึงสภาพของตลาด การจัดกลุ่มของตลาด
                 การจัดลำดับทางด้านเครดิต การเพิ่มความสามารถในการทำกำไร การจัดการความเคลื่อนไหว
                 ของสินค้า
                   4.จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ดาด้าไมนิ่งในธุรกิจอื่นๆที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทนี้
                 มา 3 ตัวอย่าง
                                1.กิจการร้านอาหาร (พยากรณ์ช่วงลูกค้าเยอะ และแนวโน้มชนิดการสั้งอาหาร)
                                2.กิจการร้านซ่่อม (ช่วงไหนของปีที่งานเสียเยอะ ลักญณะอาการเสียที่เปลี่ยนไป )
                                3.ร้านขายส่งลูกชิ้น (การคิดค้นสูตรใหม่ แลความต้องการของลูกค้า )
                     5.จากปัญหาแฟ้มข้อมูลที่ได้กล่าวในตอนต้นของบทนี้ ท่านคิดว่าคลังข้อมูลและ
                 ดาด้าไมนิ่งช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง
                               1.สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้(Minimum Redundancy)
                               2.เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล(Data Independence)
                               3.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หลายฝ่ายทั้งองค์กร(Improved Data Sharing)
                               4.มีความคล่องตัวในการใช้งาน (Improved Flexibility)
                               5.สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ (High Degree of
                 DataIntegrity)
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 4
1.จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
  1.1 โปรโตคอล หมายถึง กฏหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งจะต้องส่ง
                ข้อมูลในรูปแบบตามที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
                  1.2 การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หมายถึง ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล
                เชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบ
                มาตรฐานสากล
                  1.3 บลูทูธ หมายถึง  เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล
                ระยะในการส่งไม่เกิน 10 เมตร
                2.จากรูปที่กำหนดให้ จงอธิบายเปรียบเทียบมาตรฐานการสื่อสารและเครือข่าย
                การนำไปใช้งานระหว่างPAN,  LAN,  WLAN  และ WWAN
                   - PAN   เป็นเครือข่ายส่วนบุคคล  สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการ
                   ใช้งานอุปกรณ์ร่วมกัน เทคโนโลยีที่นำมาใช้เช่น บลูทูธ
                    - LAN   เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น  ระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ความเร็วใน
                การแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps สื่อที่ใช่มักเป็นสายสัญญาณ
                    - WLAN  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่นแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร ์
                    ในเครือข่ายระยะใกล้โดยไม่มีการเดินสายสัญญาณ
                     - WWAN  เป็นเครือข่ายไร้สายขนาดใหญ่ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ หรือทั่วโลกเช่น การใช้
                 กาวเทียมในการสื่อสาร
                 3.จงยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายที่ยังไม่ได้
                   กล่าวถึงในบทนี้มา
                    - เครื่อง gprs บอกตำแหน่งและสถานที่
                     - ลำโพงไร้สาย (อินฟาเรด)
                     - วิทยุสื่อสาร(walky talky)
                     - สถานีโทรทัศน์
                 4.ไวแม็กซ์ต่างจากไวไฟอย่างไรจงอธิบาย
                     -ไวแม็กซ์และไวไฟเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เหมือนกัน ต่างกันตรงที่ ระยะทางในการ
                 ส่ง และความสามารถในการส่งข้อมูลทะลุสิ่งกีดขวาง โดย ไวแม็กซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้
                ้ สายระดับบรอดแบรนด์บนมาตรฐาน IEEE 802.16 สามารถส่งข้อมูลได้กว้างประมาณ   50
                 กิโลเมตรและความสามารถในการส่งข้อมูลทะลุสิ่งกีดขวางได้ดีกว่า ส่วน ไวไฟเป็นเทคโนโลยี
                ี อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงใช้สัญญาณวิทยุในการับส่งข้อมูลแต่มีความสามารถในการส่ง
                 ข้อมูลจากจุดแอกเซสพอยท์ ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อได้ใกล้กว่าไวแม็กซ์
                  5.จงอธิบายแนวทางการประยุกต์ใช้เครือข่ายส่วนบุคคลไร้สาย (Wireless PAN )
                 ที่บ้าน และท่านจะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อะไรบ้างในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้
                      -จะประยุกต์ไปใช้ในเรื่องของการ ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์กับระบบอินเตอร์เนต โดยไม่ต้อง
                 เดินสายให้ยุ่งยากเกะกะกีดขวาง สามารถเคลื่อนย้ายจัดวางตำแหน่งได้สะดวก
                 อุปกรณ์ที่ใช้ต่อคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับระบบ wireless
                 
                 
6.จงยกตัวอย่างแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายมา 2 ตัวอย่าง
                     1. เทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคตจะเปลี่ยนเป็นการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้นเนื่อง จากง่าย
                 ต่อการติดตั้ง  และการดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่าแบบมีสายสัญญาณและจะมีการพัฒนาให้โทรศัพท์
                 มือถือทุกเครื่องสามารถพูดคุยและเห็นหน้ากันด้วย
                     2.จะมีการพัฒนาจนกระทั่งคอมพิวเตอร์แบบพกพามีขนาดเล็กเท่าโทรศัำพท์มือถือ และมีความ
                 สามารถเทียบเท่าเครื่องพีซี
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 5
1.Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจ
ได้อย่างไรบ้าง และช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
                         -คือ โปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อความ ตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ และยัง สามารถ
                ส่งภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์ต่างๆ หรือข้อมูลต่างถึงกันและ แลกเำปลี่ยน กันได้ทันทีทันได 
                สรุปคือเป็นโปรแกรมแช็ตนั่นเอง สามารถนำมาใช้ในการส่งรายงาน การส่งข้อมูลการดำเนินงาน
                ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนและประสานการทำงานกันโดยไม่ต้องเสียเวลาไปแฟ็กส์ หรือโทรศัพท์
                        - และสามารถประหยัดค่าโทรศัพ์๋ได้ เพราะสามารติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ทได้
                เลยโดยไม่ต้องไปเสียค่าโทรศัพท์อีก เสียแต่ค่าอินเตอร์เน็ท  และเวลาส่งไฟล์งานให้กันก็ไม่ต้ิอง
                ไปเปลืองค่าแฟ็กส์อีก
                 
                 2.E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไร
                         - E-Commerce นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussinessเพราะ E-Bussiness จะมีการดำ
                เนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน
                (Back Office)  ส่วนE-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                เท่านั้น
                 
                 3.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า
                 (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G),และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
                           - ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มุ้งเน้นให้บริการ
                 กับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต, ผู้ผลิต-ผู้ส่ง, ออกผู้ผลิต-ผู้นำเข้า
                           - ธุรกิจกับลูกค้า (B2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็น
                 องค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคนอาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหลหรือแบบ
                 ขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง
                           - ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเอกชนกับ ภาค
                 รัฐได้แก่การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และการจัดซื้อจัดจ้าง (E-Procurement)
                           - ลูกค้ากับลูกค้า (C2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน
                 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายสินค้าอาจทำผ่านWebsite
                       
                 4.จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
                 มาอย่างละ 5 ข้อ
                           -ปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกสประสบความสำเร็จ
                              1.ข้อมูลข่าวสารทันสมัยและมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี
                              2. การสั่งซื้อสินค้าที่สะดวก สร้างความมั่นใจให้ลูกค้่า
                              3. มีการชำระที่สะดวก ลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินขึ้นอยู่กับความสะดวกขอกลูกค้า
                              4. ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้
                              5. มีการบริการหลังการขายที่ดี เชื่อถือได้
                           -ปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส  ล้มเหลว
                              1. ข้อมูลข่าวสารไม่ทันสมัยและไม่มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี
                              2. การสั่งซื้อสินค้าที่ยุ่งยาก สร้างความสับสนให้ลูกค้่า
                              3. ลูกค้าไม่สามารถเลือกชำระเงินตามความสะดวกขอกลูกค้า
                              4. ลูกค้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้
                              5. ไม่มีการบริการหลังการขาย
                 
                  5.Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไร
                           - เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตสินค้า  ค้นหา
                 สินค้า ขายสินค้า และบริการตลอดเวลา  จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่
                 ทำให้ผู้ผลิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ที่สามารถนำสินค้าของตัวเองเข้าไปสู่ตลาดโดยง่าย
                 รวดเร็ว ส่วนลูกค้าก็มีความสะดวกในการค้นหาและซื้อสินค้าได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องเดินทางไป
                 เอง
                 
                  6.Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
                          - มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและบริการ การชำระเงิน
                 หารบริการหลังการขายผ่านทาง Internet สำหรับสินค้าบางประเภท ทำให้ลูกค้า มีทางเลือก ใน
                 การเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น และยังสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้จากทุกมุมโลก
                 
                 7.ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบ
                 ของCD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ
                 download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไมเป็นเช่นนั้น การจำหน่าย
                 software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็น
                 เพราะเหตุผลใด
                           -คงเป็นเพราะCD Rom เป็นนามธรรมสามารถเก็บรักษาและเป็นหลักฐานการซื้อขาย
                 ได้ดีกว่าที่เป็นซอฟท์แวร์ ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจกว่าในทุกกรณี เพราะหาร download
                 ผ่านทาง internet นั้น ถึงหม้จะสะดวกรวดเร็ว แต่ หากไฟล์ที่ได้รับไม่สมบูรณ์หรือเสียหาย
                  หรือ จะต้องมีการฟอร์แม็ทเครื่องใหม่ อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ซื้อSoftewareใหม่อีกได้
                 
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 6
1.ระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานและโครงสร้างขององค์การ
อย่างไร
                           - ลดระดับขั้นขององค์การจัดการ
                           - มีความคล่องตัวในการทำงาน
                           - ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
                           - เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ
                           - กำหนดขอบเขตการดำเนินงานใหม่
                 
                 2.องค์กรเสมือนจริงมีลักษณะอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับองค์การ
                โดยทั่วไป
                            - มีขอบเขตขององค์กรไม่ชัดเจน
                            - ใช้เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
                            - มีความเป็นเลิศ
                            - มีความไว้วางใจกัน
                            - มีโอกาศทางตลาด
                            มีข้อดีกว่าองค์การทั่วไปคือ ไม่มีขอบเขตที่เจนเนื่องจากส่วนต่างๆอาจอยู่คนละืที่กันและ
                 มีการเชื่อมโยงที่อิสระ โดยการใช้ระบบเทคโนโลยีสื่อสารทางอิเล็คโทรนิค และมีการดำเนินงาน
                 ที่เป็นเลิศเพราะสามารถจัดให้บริษัทที่ถนัดด้านใดๆบริหารจัดการงานด้านนั้นๆที่ถนัด และ
                 การรวมตัวกันขององค์การเป็นอิสระ อาจอยู่แบบถาวร หรือสลายตัวเมื่อจบโครงการ 
                 
                 3.ระบบสารสนเทศสามารถถูกจัดเป็นประเภทใดบ้าง อธิบายและยกตัวอย่างระบบ
                 สารสนเทศในแต่ละประเภท
                              สามารถจัดแบ่งตามประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้
                              - ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทธุรกิจ มีการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะ
                 งานขององค์การกเหล่านั้น โดยทั่วไปจะเป็นระบบขนาดใหญ่โดยประกอบด้วย ระบบสารสนเทศ
                 ที่จำแนกตามหน้าที่ย่อยๆหลายระบบ เช่น ระบบสารสนเทศงานการบริหารโรงแรม  จะประกอบ
                 ด้วย ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบการจัดการห้องพัก และการบริหารงานส่วนบุคคล
                              - ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน แต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบ
                 สารสนเทศย่อยๆเป็น กิจกรรมของงานหลัก เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์
                 ประกอบด้วยระบบย่อยๆคือ ระบบ การจัดการพนักงานข้อมูล ระบบการสรรหาและคัดเลือก
                 ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และ ระบบสวัสดิการ
                              - ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน คือ ผู้บริหารในองค์การที่แตกต่าง
                 กันตามระดับ จึงมีความต้องการในการใช้ระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีการออกแบบ
                 ระบบสารสนเทศให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับ
                 การนำสารสนเทศไปใช้
                 4.ระบบสารสนเทศสำนักงาน (ois) แตกต่างจากระบบสารสนเทศการประมวล
                 ผลธุรกรรม(tps)อย่างไร
                               -ระบบ (tps) นั้นเป็นระบบที่ใช้กับการรวบรวม บันทึกข้อมูลในฐานข้อมูล และประมวล
                 ผลข้อมูลที่เกิดจากการปฎิบัติงานประจำขององค์กรเพื่อจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อ
                 มูลนั้นๆเป็นระบบสารวนเทศขั้นต้น    ส่วนระบบ(ois) นั้นเป็นระบบที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์
                 เพื่อช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ซึ่ง เป็นระบบที่จัด
                 เอกสารที่เกิดจาก (tps) ไว้ในแฟ้มข้อมูลและประมวลผล คือเป็นระบบที่สนับสนุนระบบอื่นๆ
                 นั่นเอง
                 5.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบ tps,ois,mis,dss และ eis
                               -ระบบประมวลผลธุรกรรม(tps) จัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูล
                               -ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(mis) นำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลและสรุปรายงาน
                               -ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ(dss) นำสรุปรายงานมาใช้ในการช่วยตัดสินใจ
                               -ระบบสนันสนุนการตัดสินใจ(dss)นำสรุปรายงานจาก(mis)มาใช้ในการช่วยตัดสินใจ
                 เช่นกันแต่เป็นแบบที่สะดวกเจาะจงกว่า(dss)
                               -ระบบสารสนเทศสนุนการตัดสินใจ(ois) ทำการบันทึก จัดเก็บและรายงาน สนับสนุน
                 ทุหระบบข้างต้น
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 7
 1. อธิบายความหมาย และองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
             -  เป็นระบบที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงจัดการในสถานการณ์
                  การตัดสินใจกึ่งโครงสร้างช่วยขยายความสามารถของผู้ที่ทำหน้าที่จัดสินใจการตัดสินใจที่ประ
                  กอบด้วย4ขั้นตอน         
                               1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
                               2.การออกแบบ
                               3.การคัดเลือก
                               4.การนำไปใช้
                 2.ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                             - สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง 
                             -  สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
                          - สามารถใช้งานได้ง่าย
                             - เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
                             - สามารถปรับเข้ากับข้อมูลให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้มีความยืดหยุ่นสูง
                             - มีการใช้แบบจำลองต่างๆช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
                              - สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายแหล่งทั้งในองค์กรและนอกองค์กร
                  3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
                              - ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ จะทำการตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่ขอบเขตของปัญหาจะ
                   แคบและเฉพาะเจาะจงและมีความสามารถในการใช้เหตุผลและการอธิบาย
                   ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ   ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจแทนระบบ ขอบเขตของปัญหาจะกว้าง และ
                   ซับซ้อน
                  4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม มีประโยชน์และแตกต่างจากระบบการตัดสินใจ
                   บุคคลอย่างไร
                              - การสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล   ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วย
-                 ตนเองระบบการตัดสินใจแบบกลุ่ม  ต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการ หรือคณะ
                   ทำงาน เนื่องจากปัญหานั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย  มีความซับซ้อนมีผลกระทบต่อทิศทางการ
                   ดำเนินงานการใช้บุคคลเดียวในการตัดสินปัญหาอาจไม่สามารถทำได้อย่างรอบคอบ และ ถูก
                   ต้อง จึงต้องอาศัยการ ทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล
                   5.ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในด้านการบริการลููกค้าได้อย่างไร จง
                   อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
                              - ใช้ในการศึกษารูปแบบการเลือกชื้อสินค้าของลูกค้าเช่น  เมื่อลูกค้าชื้อคอมพิวเตอร์
                    ฝ่ายการตลาดก็จะใช้ข้อมูลในการวางแผนการสนับสนุนการขายสินค้า เมื่อชื้อไปแล้วจะต้อง
                    ชื้ออะไรเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และจำแนกกลุ่มของลูกค้าที่มาชื้อสินค้าบ่อยๆ ประโยชน์
                    เหล่านี้สามารถใช้ชี้นำเกี่ยวกับการกำหนดราคา การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และการเพิ่มรายได้

แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 8
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
 1. อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง ระบบนี้ช่วยเพิ่ม
                  ขีดความสามารถการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงได้อย่างไร
                             - ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Support System : ESS) เป็นระบบ
                  สนับสนุนการตัดสินใจประเภทหนึ่งซึ่งได้รับการพัฒนามา  โดยเฉพาะสำหรับผู้บริหารระดับสูง
                  เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ผู้บริหารระดับสูงใช้ระบบ  ESS เป็น
                   เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการบริหาร และตัดสินใจ โดยระบบจะให้ข้อมูล
                  ที่ถูกต้อง ทันสมัยตามความต้องเพื่อในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และ
                  เป้าหมาย รวมถึงการวางแผนระยะยาว  นอกจากนี้ระบบยังช่วยอำนวยความสะดวกในการ ติด
                  ต่อสื่อสารระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในองค์การและ ระหว่างองค์การด้วย ระบบ ESS ได้รับ
                  การพัฒนาให้มีความสามารถเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับความต้องการ
                  ทักษะ รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริหารระบบ
                 
                  2. ลักษณะข้อมูลและแหล่งข้อมูลสำหรับระดับสูงมีอะไรบ้างจงอธิบาย
                             - ข้อมูลของผู้บริหารระดับสูงได้มาจากแหล่งภายในและภายนอกองค์การทีมีผลกระทบ
                  ต่อการดำเนินธุรกิจข้อมูลเหล่านี้ควรนำมากลั่นกรอง และคัดเลือก ก่อนที่จะนำมาวิเคราะห์ทั้ง
                   ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
                   3. ลักษณะของ ESS และความสำคัญของผู้บริหารระดับสูงต่อความสำเร็จของระบบ
                   เป็นอย่างไร
                              - ให้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงกลยุทธ์
                              - ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
                              - เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก
                              - สามารถประมวลผลในรูปแบบที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
                              - พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร
                           - มีระบบรักษาความปลอดภัย
-                 4. Internet ช่วยสนับสนุนการทำงานของ ESS ได้อย่างไร
                              - เป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของระบบ ESS ยังเป็นที่สามารถใช้ในการติดต่อ
                   สื่อสารระหว่างองค์การได้
                 
                   5.ESS และ DSS แตกต่างกันอย่างไร
                              - ระบบ  DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสิน  ใจของ
                    ผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงแต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระดับ
                   สูงโดยเฉพาะ
                             -   ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบอีไอ
                    เอสเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
                              - ระบบ DSS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถาม
                   และใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS

คำถามท้ายบทที่9

1. อธิบายความหมายและลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
ตอบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หมายถึง ศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์

ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1.1 Cognitive Science เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ - ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ระบบนี้จะพยายามลอกเลียนแบบความสามารถของผู้เชียวชาญที่เป็นมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆ - ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network) ถูกออกแบบให้เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ระบบจะเริ่มการทำงานด้วยการจดจำรูปแบบที่เป็นตัวอย่างก่อนโดยการ เรียนรู้”- ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet) เป็นระบบที่ใช้ในการแยกความแตกต่าง เช่น แยกความแตกต่างของเซลส์มนุษย์ - ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน และสามารถทำงานกับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ หรือกำกวม หรือค่าไม่เที่ยงตรง หรือไม่แน่นอนได้ ซึ่งระบบจะพยายามหาคำตอบให้กับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ด้ายการพิจารณาจกาข้อมูลเท่าที่มีเท่านั้น ระบบนี้ใช้วิธีการหาคำตอบได้แบบมนุษย์มากกว่าระบบงานทั่วไปซึ่งใช้เพียงประโยคเงื่อนไขธรรมดา - เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm) หรืออัลกอริทึมพันธุกรรม ใช้หลักการด้านพันธุกรรมของชาร์ล ดาร์วิน การสุ่ม และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ในการสร้างกระบวนการวิวัฒนาการด้วยตนเองของระบบในการหาคำตอบที่ดียิ่งขึ้นโดยใช้แนวทางการแก้ปัญหาแนวเดียวกับที่สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม - เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents) ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญหรือเทคนิคของปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์ให้กับผู้ใช้ปลายทาง - ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่สามารถพัฒนาพฤติกรรมของระบบเองด้วยการพัฒนาจากข้อมูลที่ระบบได้รับในระหว่างการประมวลผล

1.2 Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์

1.3 Natural Interface งานด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ - ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language) รวมเทคนิคของการจดจำคำพูดและเสียงของผู้ใช้งาน ทำให้มนุษย์สามารถพูดหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ได้ด้วยภาษามนุษย์ - ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เป็นการสร้างภาพเสมือนจริงหรือภาพจำลองของเหตุการณ์โดยระบบคอมพิวเตอร์ มีการติดตั้งตัวเซ็นเซอร์ต่างๆไว้กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นอินพุต/เอาท์พุต เพื่อใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโลกของภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ เช่น การสร้างเกมคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ

2. อธิบายความหมายและความสำคัญของระบบผู้เชียวชาญที่มีต่อองค์การตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หมายถึง ระบบที่ช่วยในการแก้ปัญหาหรือช่วยในการตัดสินใจโดยเกี่ยวข้องกับความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศทั่วไป และถูกออกแบบให้ช่วยตัดสินใจเหมือนกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์

องค์ประกอบของผู้เชี่ยวชาญ
1. ฐานความรู้ (Knowledge Base) เป็นส่วนของความรู้ของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ซึ่งจะเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ
2. โปรแกรมของระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System Software หรือ Software Resources) แบ่งออกได้ 2 ส่วน
1) ส่วนที่ใช้ในการประมวลผลความรู้จากฐานความรู้
2) ส่วนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้

ประโยชน์ของระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้และสามารถนำความรู้มาใช้งานได้ตลอดเวลา
2. ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจ
3. สามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ระบบในการตัดสินใจ
4. ช่วยให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5. ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

3. ระบบเครือข่ายนิวรอนและระบบผู้เชี่ยวชาญมีความแตกต่างกันอย่างไรในประเด็นด้านการค้นหาคำตอบและการอธิบายเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ
ตอบ แตกต่างกันที่ ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบงานความรู้ จะลอกเลียนเอาความสามารถที่เป็นมนุษย์ ส่วน ระบบเครือข่ายนิวตรอน จะออกแบบให้ลอกเลียนสมองของมนุษย์ ทั้งนี้ ระบบเครือข่ายนิวรอน และระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำมาบูรณาการ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว เพื่อจะได้เลือกใช้แต่ส่วนที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง ซึ่งระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ แบบผสมผสาน (Hybrid AI System) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในงานทางธุรกิจปัจจุบัน

4. ยกตัวอย่างระบบงานประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์มา 3 ระบบ
ตอบ
1. Robotics หุ่นยนต์ Robots used to replace human laborers นำมาแทนแรงงานคน เพราะปัจจุบันมีการพัฒนาให้เลียนแบบลักษณะมนุษย์มากยิ่งขึ้น และสามารถทำงานเหมือนมนุษย์ได้
2. ระบบผู้เชียวชาญ (Expert System) หรือระบบงานความรู้ (Knowledge-based Systems) ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะคล้ายกับเป็นหน่วยบันทึกความจำขององค์กร กลายเป็นฐานความรู้องค์กร ที่พนักงานสามารถเข้าไปสืบค้น และหาคำปรึกษาได้ในทุกเวลา สามารถจัดการกับสารสนเทศที่กำกวม ไม่สมบูรณ์ได้
3. ระบบแบ๊บเน็ต (Papnet) ที่สามารถตรวจสอบผลมะเร็งซึ่งสามารถตรวจสอบได้แม่นยำกว่า

5. ท่านมีแนวคิดที่จะนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในงานด้านการตัดสินใจได้อย่างไรบ้าง
ตอบ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการกับกลุ่มข้อมูล ซึ่งมีวิธีในการนำเข้าข้อมูล การจัดเก็บ และการนำออกมาใช้ การดัดแปลง และเตรียมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ อาจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนที่ สถิติ - ตาราง และคำบรรยายมาจัดเก็บไว้ให้เป็นหมวดหมู่ในระบบที่อ้างอิงพิกัดภูมิศาสตร์ เพื่อสะดวกในการแสดงผลและเรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็วถูกต้องง่ายต่อการประมวลผล ตลอดจนการวิเคราะห์เพื่อที่จะนำไปใช้ในการวางแผนหรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ต่อไป

แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 10
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
 1. อธิบายความหมายของกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
                             - กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้าน
                  ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาส และ
                  หลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริญเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถ
                  เอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
                             -  ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบ
                 ในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ
                  2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
                             - กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
                             - กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
                             - กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
                 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบ
                  สารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
                              - กิจกรรมมีดังนี้
                                 กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
                                  1. การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
                                  2. การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
                                  3. การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
                                  4. การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
                                  5.การบริการ (Services)
                                กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
                                  1. โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
                                  2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
                                  3. การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)
                                  4. การจัดหา (Procrument)
                              - ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า   (Value Chain)
                    เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายหรือเพิ่ม
                    มูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่
                   4.กลยุทธ์ธุรกิจ(Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy)
                   และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
                              - แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ  
                   ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิด
                   ประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
                   5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ   (Interorganizational System: IOS)
                   มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อมููลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อ
                   องค์การ
                              - เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์  
                   การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์(EDI)
                   หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิตเพื่อให้มีวัตถุเพียงพอ
                   และในระดับที่เหมาสอกับความต้องการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำ
                   เป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดก็บวัตถุดิบลง องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบ
                   เเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้า
                   มาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้   และ ทำการจัดวัตถุดิบให้
                   ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัต  ิโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ   ซึ่งช่วยให้ลดขั้น
                   ตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ลงได้ทั้งองค์
                   การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต

แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 11
ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ
 1. อธิบายความหมายของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การและโครงสร้างของ
                  ระบบ
                             - ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ   หรือที่เรียก  ERP   ย่อมาจาก   Enterprise
                  Resource  Planing   เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการ  งานหลักต่าง ๆ ขององค์การ  เช่น
                  การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อม
                  โยงกันแบบเรียลไทม์   (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูล หรือสารสนเทศโดย
                  ภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
                             - โครงสร้างของระบบ ERP
                  ซอฟต์แวร์โมดูล (Business Application Software Module) ทำหน้าที่หลักในองค์การ
                  แต่ละโมดูลจะทำงานเฉพาะในแต่ละโมดูลนั้นๆ แล้วยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้
                  ฐานข้อมูลรวม (Intergrated Database) ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึงฐานข้อ
                  มูลรวมได้โดยตรง และ สามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้   ข้อมูลในเรื่องเดียวกัน
                  ที่ได้จากการประมวลผลของซอฟต์แวร์โมดูลต่างๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน และ นำ
                  มาเก็บไว้ที่เดียวกัน ทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
                  ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (System Administration Utility) เป็นส่วนที่สนับสนุน
                   การบริหารจัดการระบบ เช่น การคัดลอกสำเนาการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การบริหาร
                   เครือข่าย การ(Backup) ข้อมูล
                   ระบบสนันสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน (Development and Customization)
                   เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์การ
                 
                   2. องค์การจะได้รับประโยชน์และมีความท้าทายอย่างไรในการนำระบบ ERP มาใช้
                              - ประโยชน์
                   กระบวนการบริหาร ระบบ ERP สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยง
                    ตรงทำให้ผู้บริหารทราบผลการดำเนินงาน และตรวจสอบสถานการณ์การดำเนินงานขององค์
                    การ ระบบ ERP ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทางเดียวกัน
                    เทคโนโลยีพื้นฐาน ระบบ ERPช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน
                    เสมือน  เป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การการสร้างมาตรฐานและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ของ
                    ระบบงานต่างๆ จะช่วยลดเวลา และจำนวนคนในการทำงาน ลดขั้นตอน และ ค่าใช้จ่าย
                    กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์การเข้าด้วยกันช่วยให้
                    ประสานงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
                              - ความท้าทาย  
                    การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจ และ วัฒนธรรมการทำงานภายในองค์การ
                    การนำ ERP มาใช้ ผู้ใช้อาจต้องปรับขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลง  กระบวนการทำงานให้เหมาะ
                    สมความท้าทายก็คือ   การค้นหาว่าขั้นตอนการทำงานใดที่สมควรจะควรจะต้องได้รับการปรับ
                    เปลี่ยนและทำการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับ ERP
                    การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง  การ
                    พัฒนาระบบ ERP จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงตอนเริ่มต้น แต่ยังไม่ได้รับการประเมินประโยชน์ จนกว่า
                    จะมีการนำระบบไปใช้ และบุคลากรมีความชำนาญมากขึ้น มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูล
                    ที่ได้จากระบบ
                    ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์  ระบบ ERP เป็นระบบที่มีความซับซ้อนต้องอาศัย
                    ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งดูแลบำรุงรักษา แต่บางครั้งการแก้ไขซอฟต์แวร์มากเกินไปอาจมีความ
                    เสี่ยงในการเกิด (Bug) หรือในกรณีที่นำเอาระบบมาใช้งานแล้ว เมื่อความต้องการขององค์การ
                    เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซอฟต์แวร์อาจไม่มีความยืดหยุ่นพอเนื่องจาก ผู้ออก
                    แบบซอฟต์แวร์ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า
                    3. ขั้นตอนในการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
                              -   การศึกษาและวางแนวคิด ในขั้นแรกจะต้องทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบัน  ของ
                    องค์การว่ามีความจำเป็นจะต้องนำ ERPมาใช้ในองค์การหรือไม่ ต้องมีการศึกษา และทำความ
                    เข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจกระบวนการทางธุรกิจปัญหาขององค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก
                    แล้ว จากนั้นก็รอขั้นตอนขออนุมัติจากผู้บริหารเพื่อให้นำ ERP มาใช้ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็เริ่ม
                    ทำในขั้นตอนการวางแผนต่อไป
                           -  การวางแผนนำระบบมาใช้จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งมีหน้าที่
                    ในการกำกับดูแลให้การคัดเลือกระบบERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ   คณะกรรมการจะดำ
                    เนินงานเกี่ยวกับการกำหนดลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์
                    เป้าหมายและขอบข่ายในการนำ ERP มาใช้ทุกส่วนขององค์การ   หรือนำมาใช้กับกระบวนการ
                    หลักๆ ขององค์การ
                              -  การพัฒนาระบบ เป็นขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาระบบที่ เหมาะสม
                ี่    กับองค์การ ประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้อง
                    ทำพร้อมทั้งระบุเวลา และเป้าหมายที่จะได้รับ ทำการสำรวจระบบงานปัจจุบันว่าจะต้องปรับปรุง
                    ลดขั้นตอน หรือ เปลี่ยนแปลงงานอย่างไร   สรุป  ความต้องการขององค์การว่ามีความต้องการ
                    ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอะไรบ้าง แล้วกำหนดรูปแบบทางธุรกิจ และกระบวนการทางธุรกิจ
                    ที่น่าจะเป็น  และ นำกระบวนการนี้มาเปรียบเทียบ กัีบ กระบวนการทางธุรกิจที่มีให้เลือกจาก
                    ซอฟต์แวร์ ERP
                                 การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ ERP
                    ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ ส่งเสริมให้บุคลากร
                    มีความชำนาญในการใช้ระบบ มีความเข้าใจและเชื่อมั่นในข้อมูลที่ได้จากระบบ และ สามารถ
                    นำมาใช้ประโยชน์ได้ หลังติดตั้งแล้วต้องมีการประเมินผลจากการนำระบบมาใช้เป็นระยะ และ
                    นำผลประเมินนั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป
                    4. ปัจจัยที่ควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจในการเลือกซอฟต์แวร์ ERP มีอะไรบ้าง
                   และให้ยกตัวอย่างของ ERP ที่มีในท้องตลาดมา 3 ชื่อ
                              -  ปัจจัยที่ควรพิจารณา
                                 1. การศึกษาและการวางแนวคิด
                                 2. การวางแผนนำระบบมาใช้
                                 3. การพัฒนาระบบ
                                 4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ
                              -  ซอฟต์ ERP ในท้องตลาด
                                 1. IFS Application
                                 2. mySAP ERP
                                 3. Peoplesoft
                    5. ความจำเป็นและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการขยายขีดความสามารถของ
                   ระบบERPให้เชื่อมโยงกับระบบของคู่ค้ามีอะไรบ้าง จงยกตังอย่างประกอบคำอธิบาย
                               - องค์การหลายแห่งจึงให้ความสำคัญกับการขยายขีดความสามารถของระบบ ERP
                    จากเดิมที่มีระบบ ERP เป็นแกนหลักของระบบข้อมูล และสนับสนุนการดำเนินงานภายในองค์
                    การ เป็นการขยายขอบเขตให้เชื่อมโยงกับองค์การภายนอกได้ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
                    และประสานกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์การ
แบบทดสอบคำถามท้ายบทที่ 12
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
 1.เหตุใดองค์การจึงต้องมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
                              - เพราะ ระบบงานเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือการทำงานได้ตามต้องการ ในขณะที่กำ
                   ลังดำเนินงานที่มีหลายขั้นตอน เกิดความยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านั้น
                   มาทำการสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงาน และไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้กับผู้บริหาร
                   ได้เป็นอย่างดี จึงจำเป็นต้องมากรปรับเปลี่ยนพัฒนาระบบ เพื่อสามารถช่วยให้ขั้นตอนใน  การ
                   ปฏิบัติงาน และกระบวนการบิหารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                   2.นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบอย่างไร และหากท่านต้อง
                  การเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพท่านควรต้องมีทักษะในด้านใดบ้าง
                             -  นักวิเคราะห์ระบบมีบทบาทสำคัญ คือ ศึกษาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
                   ระบบงานและความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ
                   ตรงตามความต้องการของผู้ให้ และถ้าหากต้องการนักวิเคราะห์ระบบที่มีคุณภาพต้องมีทักษะ
                   ในด้านเทคนิค ด้านการวิเคราะห์ ด้านบริหารจัดการ และด้านการติดต่อสื่อสาร
                   3.ขั้นตอนในการพัฒนาระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง
                              -  ผลลัทธ์จากการกำหนดและเลือกสรรโครงการ มี 4 ขั้นตอนในการพิจารณาระบบ
                    1 อนุมัติโครงการ คือให้ดำเนินโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป
                    2 ชะลอโครงการ คือ เนื่องขากองค์การยังไม่มีความพร้อม
                    3 ทบทวนโครงการ คือ โดยให้นำโครงการไปปรับแก้แล้วจึงนำเสนอ
                    4 ไม่อนุญาต คือ ไม่มีการดำเนินโครงการนั้นต่อไป
                    ผลลัทธ์ ของการเริ่มต้นและวางแผนโครงการ คือ แผนงานของโครงการและรายงานการสำ
                    รวจระบบเบื้องต้น
                     ผลลัทธ์ ของการวิเคราะห์ระบบ คือ เป็นการรายงานการวิเคราะห์ระบบซึ่งจะแสดงรายละเอียด
                    ในการวิเคราะห์ระบบปัจจุบัน
                    ผลลัทธ์ ของการออกแบบระบบ คือ รายงานการออกแบบระบบซึ่งจะแสดงการออกแบบระบบ
                    ผลลัทธ์ ของการดำเนินการระบบ คือ เพื่อสร้างระบบและติดตั้งระบบจากการรวบรวมข้อมูล
                    4.แรงจูงใจต่อการเลือกแหล่งภายนอกให้มาพัฒนาหรือดูแลระบบสารสนเทศให้กับ
                   องค์การมีอะไรบ้าง และวิธีนี้มีข้อพังระวังอย่างไร
                               - ข้อพึงระวังระบบประกอบด้วย
                                 1. ด้านความคุ้มค่าทางการเงิน -อำนาจในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศลดลง
                                 2 ด้านคุณภาพและความยืดหยุ่นในการทำงาน -การรั่วไหลของข้อมูล
                                 3 ด้านความสามารถในการแข่งขัน -ความไม่สนใจติดตามความรู้ด้านเทคโนโลยี-
                    การพึ่งพิงผู้ให้บริการ
                    5.ท่านคิดว่าปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จควรประกอบ
                    ด้วยอะไรบ้าง
                              -  ปัจจัยของการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย
                               1 การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
                               2 มีการกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ชัดเจน
                               3 มีทีมงานพัฒนาที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ
                               4 มีความสามรถในการรวบรวมปัญหาและความต้องการของระบบ
                               5 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
                               6 มีการบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนอย่างมีประสิทธิภาพ

คำถามท้ายบทที่ 13 เรื่อง Knowledge Management : KM

ข้อ 1. สารสนเทศกับความรู้คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ.
สารสนเทศกับความรู้ต่างกัน คือ ความรู้คือการผสมผสานของประสบการณ์ ส่วนสารสนเทศ คือ ความเข้าใจ ทักษะและความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่สามารถถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น ๆ ได้

ข้อ 2. การจัการความรู้ความสำคัญต่อองค์การในปัจจุบันอย่างไร
คำตอบ.
เป็นกระบวนการที่เป้ฯระบบ หมวดหมู่ ง่ายต่อการสรรหา การเลือก การรวบรวมจัดระบบที่คนในองค์การสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อที่จะพัฒนาตนองให้มีความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ

ข้อ 3. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการถูกนำไปใช้ในการจดการความรู้ได้อย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
3.2 การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร
3.3 เป็นการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์
3.4 เป็นระบบประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์
3.5 การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย
3.6 การสนับสนุนการทำงานเป็นทีม
3.7 การแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์

ข้อ 4. เว็บศูนย์รวม (Enterprise Knowledge Portal) และบล็อก (Blog และ Weblog) สำหรับการจัดการความรู้ในองค์การ ต่างกันอย่างไร มีประโยชน์ต่องค์การอย่างไร
คำตอบ.
ต่างกันคือ เว็บศูนย์ (Enterprise Konwledge Portal) เป็นการบูรราการความรู้ กลไกลการรายงาน และทำงานร่วมกัน ส่วน (Blog หรือ Weblog) เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้หรือประสบการณ์ผ่านพื้นที่ Cyber Space ทั่งสองเว็บนี้มีประโยชน์ต่อองค์การ คือเป็นเว็บที่เผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ เรื่องเล่า ขององค์การ เป็นต้น

ข้อ 5. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการจักการความรู้ของงค์การให้ประสบความสำเร็จ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
คำตอบ.
5.1 การที่ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้บริหาร เช่น บริษัท ทรู จะจัดโครงการความรู้ ขึ้นมานั้นต้องได้รับกากรอนุมัติ หรือการสนับสนุนจากผู้บริหารก่อน โครงการถึงจะเริ่มได้
5.2 มีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น บริษัท ทรู กำหนดว่าการจัดทำโครงการความรู้ ขึ้นมาครั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเผยแพร่ความรู้ กับกลุ่มคนในองค์การ
5.3 มีวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ เช่น โครงการความรู้ที่จะจัดขึ้นมานั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเสนอแนวคิดต่อที่ประชุม หรือการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้
5.4 มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ทางบริษัท นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาจัดโครงการความรู้
5.5 ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกระดับ เช่น บริษัท ทรู จัดโครงการความรู้ ขึ้นมา ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบให้ดี
5.6 มีการวัดผล เช่น โครงการความรู้ที่จัดทำขึ้นมานั้น ทางบริษัท ต้องจัดคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อตรวจสอบ และวัดผลการจัดโครงการความรู้ครั้งนี้ ให้สามารถที่จะสรุปงานต่อผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง
5.7 มีการพัฒนาการจัดการความรู้สม่ำเสมอ เช่น ทางคณะผู้เกี่ยวข้องกับโครงการความรู้ ต้องช่วยการนำแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อ บริษัท มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ที่กล่าวมาข้าง ต้น เป็นปัจจัยต่อการจัดการความรู้เพื่อที่จะทำให้องค์การ หรือบริษัท ได้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน และสามารสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับองค์การด้วย

คำถามท้ายบทที่ 14 เรื่อง จริยธรรมและการรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศ

ข้อ 1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
คำตอบ.
คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเองเช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

ข้อ 2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมีวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
คำตอบ.
คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

ข้อ 3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไรบ้าง
คำตอบ.
3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

ข้อ 4. ท่านคิดว่าปัญหาในเรื่องความปลอดภัยใดบ้างที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตในองค์การธุรกิจ และจะมีวิธีป้องกันหรือแก้ไขปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
คำตอบ.
คือ ปัญหาในเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นโดยป้องกันปัญหานั้น คือ ควรมีระบบตรวจสอบการเข้าใช้ เพื่อทำการอนุญาตการใช้ระบบนั้น เช่น การตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามอ ลายเซ็น และรูปหน้า เป็นต้น โดยอุปกรณ์จะทำการแปลงลักษณะส่วนบุคคลให้อยู่ในรูปของดิจิทัล แล้วทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ ถ้าข้อมูลไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ก็จะปฏิเสธการเข้าสู่ระบบ

ข้อ 5. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
คำตอบ.
คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

ข้อ 6. จากเหตุการณ์ต่อไปนี้ จงตอบคำถาม
ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทแห่งหนึ่งได้สอดส่องการใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงานบริษัท และพบว่ามีพนักงานจำนวนมากใช้ระบบของบริษัทเพื่องานส่วนตัวข้อความบางส่วนที่ตรวจพบเป็นจดหมายรักบ้าง เป็นข้อมูลการดูแลผลการแข่งขันฟุตบอลบ้าง ดังนั้นผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยท่านนี้จึงได้เตรียมทำรายงานชื่อพนักงานเหล่านั้น พร้อมตัวอย่างข้อความที่ใช้งานกันเพื่อให้กับฝ่ายบริหารต่อไป ผู้จัดการฝ่ายบางคนก็ลงโทษพนักงานในฝ่ายของตนที่ใช้อีเมลในงานส่วนตัว ในขณะที่ฝ่ายพนักงานได้เรียกร้องในเรื่องความเป็นส่วนตัวของการใช้งานระบบอีเมลของบริษัท

6.1 ท่านคิดว่าการที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการฝ่ายสอดส่องเฝ้าดูการใช้อีเมลของพนักงานนั้นเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
คิดว่าการสอดส่องของผู้บริหารฝ่ายจัดการข้อมูลนั้น ได้ผิดจริยธรรม เพราะว่าพนักงานถึงจะใช้ระบบอีเมล์เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใช้ในเวลาทำงาน หรือว่าเวลาว่างไม่ควรด่าว่าให้กับพนักงาน

6.2 การใช้อีเมลเพื่อการสื่อสารส่วนตัวของพนักงานเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ จงให้เหตุผลประกอบ
คำตอบ.
การใช้อีเมล์เพื่อการสื่อสารส่านตัวของพนักงาน คิดว่า ไม่ผิดจริยธรรม เพราะว่าการใช้อีเมล์ของพนักงาน นอกจากที่ได้กล่าวไว้แล้ว อาจใช้ติดต่อกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวก็ได้

6.3 การที่ผู้จัดการฝ่ายดูแลความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศส่งรายชื่อพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้ให้กับผู้บริหารเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การที่ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยได้ส่งรายชื่อพนักงานให้กับผู้บริหาร ไม่ผิดจริยธรรม แต่การทำงานร่วมกันควรตักเตือนก่อนหรือให้คำชี้แนะที่ดีแก่พนักงานเหล่านั้น

6.4 การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
คำตอบ.
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดในกรณีนี้เป็นการกระทำผิดจริยธรรม เพราะว่า การลงโทษพนักงานที่ทำงานมาด้วยกัน ไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี นั้น อาจทำให้พนักงานเสียขวัญและกำลังใจในการทำงานก็ได้ และพนักงานบางคนอาจลาออกจากงาน ก็จะส่งผลกระทบในตำแหน่งงานนั้นด้วยตามมา

6.5 ท่านคิดว่าบริษัทควรดำเนินการเช่นใดเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้ให้ถูกต้อง
คำตอบ.
คิดว่าบริษัทควรแก้ไขในการดำเนินครั้งนี้ คือ ควรจัดการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมดในเรื่องของการใช้อีเมล์ และกำหนดให้ใช้อีเมล์ในการติดต่อกับลูก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น