วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษาบทที่ 7:ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร

กรณีศึกษาบทที่ 7:ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหาร
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา มักทำการเซ็นสัญญาระยะยาวในการเช่าซื้อหรือสร้างอาคารบ้านพักในบริเวณที่ใกล้ๆกับฐานทัพต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน สร้างเมื่อใด อย่างไร มีรูปแบบใด เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก และจะต้องทำการวิเคราะห์ตลาดอาคาบ้านพักเป็นส่วนๆ ด้วย โดยการวิเคราะห์นี้เรียกว่า Segmented Housing Market Analysis หรือ SHMA ที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดทำถึงห้าหมื่นเหรียญ และมีวัตถุประสงค์เดียวคือ ข่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวิเคราะห์โดย SHMA จะต้องตรงตามงบประมาณที่มีอยู่และจะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การที่ทำหน้าที่ตรวจสอบที่มีอยุ่หลายแห่งด้วยกัน นอกจากนั้นการวิเคราะห์ยังต้องพิจารณษสถาพเศรษฐกิจรอบๆ ฐานทัพและตลาดอาคารบ้านพักที่มีอยุ่ ในขณะนั้นด้วย เช่น จะต้องพิจารณาว่าบ้านพักให้กองทัพเช่าได้เพียงใด ปัญหานี้จะมีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะในกองทัพมียศอยู่ถึง 20 ขึ้น นายทหารยิ่งมียศสูงมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งจำเป็นจะต้องมีอาคารบ้านพักที่ดีมากขึ้นเท่านั้น อาคารบ้านพักมีอยู่หกขนาดคือจากขนาดห้องเดียว ไปจนถึงขนาดบ้านพักที่มีห้าห้องนอนขนาดของครอบครัวก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา การวิเคราะห์ SHMA นั้นใช้แบบจำลองเชิงปริมาณ หลายรูปแบบ รวมทั้งแบบจำลองทางเศรษฐมิติด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์คำนวณสำหรับฐานทัพ 200 แห่งต้องใช้เวลานานและยังเกิดความผิดพลาดได้ง่ายโดยเฉพาะหากทำการคำนวณด้วยมือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสามารถโต้ตอบกับโมเดลระบบวางแผนทางการเงิน (Financial Planning System (IFPS)Model Language ) แผนผังของระบบ DSS มีสองส่วนสำคัญคือ ฐานข้อมูล  และ ฐานแบบข้อมูลจำลอง
 1. ฐานข้อมูล (Database)ประกอบด้วย
    - Off-post data : ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสภาพทางเศรษฐกิจรอบๆฐานทัพ
    - On-post data : ข้อมูลเกี่ยวกับการหาบ้านพักของนายทหารโดยแหล่งข้อมูลภายในมาจากฐานข้อมูลภายในกระทรวงกลาโหมและรายงานต่างๆ สำหรับแหล่งข้อมูลภายนอกมาจากรายงานสถิติ หอการค้า หรือจากฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นต้น
 2. ฐานแบบจำลองข้อมูล (Model Base) มี 2 ส่วนคือ
    - Regional Economic Model (RECOM) for the Area : เป็นตัวโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค รายได้ต่อคน และเงินช่วยเหลือ หรือ สวัสดิการของทหาร ฯลฯ
    - Modified Segment Housing Market Analysis (MSHMA) : เป็นโมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ใช้มาจาก On-post และ Off-post Data เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก จำนวนบ้านพักใกล้ฐานทัพที่มีให้กอลทัพเช่า ภาษีที่ต้องจ่าย รายได้ต่อครัวเรือน รวมถึงจำนวนประชากรทั้งหมด

1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดบ้านพักทหารว่าจะสร้างบ้านพักที่ไหน เมื่อใด และมีรูปร่างอย่างไร มีความจำเป็นต้องอาศัยระบบการตัดสินใจหรือไม่  เพราะเหตุใด
     ตอบ   มี เพราะบ้านพักทหารไม่ได้สร้างให้ทหารอยู่แค่คนเดียว  แต่เกี่ยวเนื่องกับบุคคลทั้งกองร้อยหรือมากกว่านั้น และคนที่อยู่รอบๆค่ายทหารด้วย  จึงต้องจัดวางระบบให้ดีทั้งระบบสาธารณูปโภค  ความปลอดภัย สถาพแวดล้อมทั่วไป การวางรูปแบบบ้าน งบประมาณ การจัดสรรพื้นที่ การแบ่งโซนสำหรับยศทางทหาร ฯลฯ ซึ่งทุกส่วนมีความสำคัญและสัมพันธ์กันหมด  ดังนั้นจึงต้องใช้ระบบ DSS เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ  เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2. องค์ประกอบหลักของระบบ DSS เกี่ยวกับบ้านพักทหารมีอะไรบ้าง
     ตอบ   1. ส่วนจัดการข้อมูล  คือ ฐานข้อมูล แบ่งเป็น off-post Data  ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจรอบๆฐานทัพ และ on-post Data  ข้อมูลเกี่ยวกับบ้านพักทหาร
           2. ส่วนจัดการโมเดล  คือ ฐานแบบจำลอง มี 2 ส่วน คือ RECM  เป็นโมเดลที่มีตัวแปรและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ราคาบ้าน ดัชนีผู้บริโภค  ส่วน MSHMA  โมเดลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรหลายตัวแปรและข้อมูลที่ได้มาจาก  off-post Data  และ on-post Data  เช่น ส่วนแบ่งตลาดบ้านพัก ภาษีที่ต้องจ่าย  รายได้ต่อครัวเรือน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น