วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ธุรกิจซูชิ

1. บทสรุปผู้บริหาร
  ความเป็นมาและสถานะของกิจการในปัจจุบัน
ชื่อและที่ตั้งกิจการ             ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ  ตั้งอยู่เลขที่   988/1   ถ. วันลูกเสือ   ต.เมืองใต้
                                                           อ.  เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
                ชื่อผู้ก่อตั้ง                        คุณพ่อสมบัติ  บุญวงษ์
                ชื่อผู้บริหารที่สำคัญ          นางสาวสุพัตรา  บุญวงษ์
                ประเภทสินค้าที่ผลิต        อาหารญี่ปุ่น  (ซูชิ)
                กลุ่มลูกค้าหลัก                วัยรุ่น คนทำงาน คนรักสุขภาพ
                ส่วนแบ่งตลาด                 อาหารทุกยี่ห้อในท้องตลาด
                คู่แข่งที่สำคัญ                      อาหารกล่องร้านเซเว่นอีเวฟเว่น
ธุรกิจขนาดย่อม ป๊อปปูล่า ซูชิ       เป็นกิจการรูปแบบธุรกิจเจ้าของคนเดียวก่อตั้งสถานประกอบการร้านด้านการผลิตเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ซูชิ  โดยมีวิสัยทัศน์  เป็นผู้ผลิตอาหาร ประเภทอาหารญี่ปุ่น ซูชิ ซึ่งเน้นด้านคุณภาพ ได้คุณค่า สะอาด สด และราคาพอเพียง เหมาะสำหรับผู้ที่ดูแลสุขภาพ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสูง โดยมีพันธกิจ ป๊อปปูล่า ซูชิ จำหน่ายอาหารญี่ปุ่นที่พอดีคำเน้นที่ สด สะอาด มีคุณค่า ราคาพอเพียง มุ่งพัฒนา ผลิตและจำหน่ายอาหารญี่ปุ่น ซูชิ ไม่เพียงแค่คุณภาพและความสด สะอาด แต่ทางร้านเรา ยังต้องผลิตอาหาร ซูชิ ที่มีหน้าตา และสีสันที่น่ารับประทาน เพื่อดึงดูดแก่ลูกค้าที่แวะมาชิม มาบริโภค ซูชิ ร้านป๊อปปูล่า  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทางร้านที่ต้องพัฒนาฝีมือให้ทันสมัย และไม่จำเจ การสร้างสีสัน และออกแบบหน้าตาของ ซูชิ ต้องศึกษา จากความต้องการของลูกค้าโดยสามารถสังเกตได้จากยอดขาย ซึ่งทางร้าน ต้องศึกษาข้อมูล โดยเริ่มจากการทดลองชิม ซูชิ ในหน้าต่างๆ แน่นอนที่สุด ผลิตภัณฑ์ของร้าน เป็นธุรกิจประเภทอาหาร การที่จะทราบได้ว่าลูกค้าต้องการรสชาติ หรือหน้าตา ของซูชิ อย่างไร จึงต้องใช้ วิธี การชิม โดยมีเป้าหมายที่สำคัญของร้าน คือ การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม ซึ่งได้มาจากส่วนบ่งการตลาด ประมาณ 30 เปอร์เซ็น จากการประมาณการของตลาดคู่แข่ง ซึ่งใช้เงินทุน ครั้งแรก 20000  บาท และเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตครั้งละ ไม่เกิน 1000 บาท และมีผลกำไรหลังหักจากทุนอยู่ที่ 70 % ของยอดขาย
        กลยุทธ์ของ ป๊อปปูล่า ซูชิ มาจากการใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เกรด A เพราะสินค้าของเราเป็นอาหาร จึงต้องรักษาความสด เน้นที่การผลิตอาหารญี่ปุ่น ซูชิ ที่ผลิตพอคำ เน้นความสด สะอาด มีคุณค่า และราคาพอเพียง แพ็คอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด สดใส มองเห็นความน่ารับประทานได้ และง่ายต่อการบริโภคเพราะพอดีคำ ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง ดูแลสุขภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ

จากแนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.9 มากกว่าการขยายตัวของปี 2550 เมื่อเทียบกับปี 2549 ที่ร้อยละ 9.3 ขณะที่การคาดการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2551 จะขยายตัวในเชิงปริมาณที่ร้อยละ 7.5 และเชิงมูลค่าในรูปเงินบาทและเงินดอลลาร์ประมาณร้อยละ 7.7(สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2550 และแนวโน้มปี 2551 : ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจอุตสาหกรรม :2550 ) จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นและจำนวนคู่แข่งทางธุรกิจในท้องตลาดยังมีน้อย ก่อให้เป็นโอกาสในการจัดตั้งธุรกิจ
ธุรกิจ ป๊อปปูล่า ซูชิ     จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุน และผู้บริโภค ซึ่งมีจุดขายอยู่ที่ผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่น อาหารว่างที่มีรสชาติที่อร่อย ละมีรสนิยมสูง โดยเน้น คุณภาพของอาหาร ที่มีความสด สะอาด มีคุณค่า และราคาพอเพียง   รับประทานง่าย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีโอกาสที่ธุรกิจ ซูชิจะเติบโต เหมาะแก่ความนิยมในการบริโภคเพียงแต่ต้องมีการพัฒนาฝีมือด้าน ศิลปะในการสร้างสีสัน และหน้าตา ของซูชิ ให้น่ารับประทานอยู่เสมอ

วัตถุประสงค์ของการจัดทำธุรกิจขนาดย่อม
                รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจเป็นการดำเนินงานแบบเจ้าของคนเดียว
1.             เพื่อเป็นอาชีพ  เพิ่มรายได้แก่ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ
2.             เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อเป็นประสบการณ์
3.             เพื่อเป็นแหล่งการถ่ายทอดการเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจ จะประกอบธุรกิจ ซูชิ
  กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจขนาดย่อม
                1.  การวางแผนของการบริหารงานของ ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ
                2.  การใช้วัตถุดิบมีคุณภาพ เกรด A สด สะอาด         
3.  มีการนำผลิตภัณฑ์ออกไปสู่กลุ่มผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง เช่น ตลาดนัดถนนคนเดินทุกวันอาทิตย์ 
      กลุ่มข้าราชการของหน่วยงานต่างๆ  การเชิญชิม เป็นต้น
                4.  จัดการทำบัญชี รายรับ รายจ่าย   เงินลงทุน เงินหมุนเวียน โดยสรุปทุกสิ้นเดือน





2.  ความเป็นมาของธุรกิจขนาดย่อม ป๊อปปูล่า ซูชิ
   ประวัติและความเป็นมาของธุรกิจ ซูชิ
อาหารญี่ปุ่นแพร่หลายเป็นที่นิยมทั่วกรุง ปรากฏการณ์นี้ออกจะน่าประหลาดไม่น้อย เดี๋ยวนี้แม้กระทั่งตลาดนัดหรือตามทางเท้าริมถนนก็มีแผงขายซูชิชิ้นละไม่กี่บาทวางเกลื่อน ไม่ต้องพูดถึงภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นที่ผุดขึ้นมาทุกหัวระแหง มีทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปลายแถวไปจนกระทั่งถึงภัตตาคารห้าดาว บางแห่งมีข่าวถึงขนาดว่าเจ้าของร้านบินไปซื้อปลาสดๆ ที่ญี่ปุ่นมาทำข้าวปั้นและปลาดิบด้วยตัวเอง อาหารมื้อหนึ่งตามภัตตาคารหรูๆ อาจจะสูงถึงหัวละ 4,000-5,000 บาท คงไม่เกินจริงถ้าจะพูดว่าซูชิได้กลายเป็นของกินสุดฮิตและสุดฮิปของคนกรุงใน พ.ศ.2552 ไปแล้ว
แต่เรื่องราวความนิยมอาหารญี่ปุ่นในต่างแดนทำนองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยแห่งเดียว หนังสือ The Sushi Economy หรือเศรษฐศาสตร์ซูชิ โดย Sasha Issenberg ซึ่งสำนักพิมพ์มติชนกำลังจะตีพิมพ์ บอกเล่าความเป็นมาและความแพร่หลายของซูชิ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเอาไว้อย่างน่าสนใจ หลายเรื่องอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ประวัติซูชิยังแสดงถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองของอาหารประจำชาติญี่ปุ่นให้เข้ากับเวลาและสถานที่
ซูชิอย่างที่เรารู้จัก คือ ข้าวปั้นนิงิริ ที่ทำสดต้องอาศัยวัตถุดิบสดใหม่ ยิ่งสดเท่าไรยิ่งดี แต่ความคิดนี้กลับขัดแย้งกับต้นกำเนิดของซูชิซึ่งมาจากการหมักดองเพื่อยืดอายุอาหารเอโดะ-มาเอะ นิงิริ ซึ่งก็คือข้าวปั้นหน้าต่างๆ อย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 300 ปีที่แล้วนี่เองในสมัยเอโดะประมาณศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นปลาสดๆ จะถูกนำมาหมักใส่ไหทิ้งไว้จนรสชาติเข้าที่
คำว่า ซูชิ เขียนด้วยตัวอักษรคันจิได้หลายแบบ แต่ไม่ว่าจะเขียนวิธีไหนก็มาจากรากศัพท์คำเดียวกัน คือ ซุปปาชิ แปลว่า "เปรี้ยว" พูดง่ายๆ ว่าซูชิเป็นวิธีถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งผลผลิตสมัยก่อนเกือบทั้งหมดต้องนำไปหมักดองเพื่อยืดอายุและเพิ่มรสชาติ น้ำส้มสายชู สาเก และผักดองได้รับความนิยมมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 จนมีผู้คิดเอาปลาและอาหารทะเลอื่นๆ เช่น ปลาหมึกสดไปหมักเกลือ ปล่อยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายโปรตีนเป็นกรดอะมิโน
ไม่นานหลังจากนั้นชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลองหมักปลาด้วยวิธีอื่น และพบว่าสามารถใช้ข้าวหมักปลาแทนเกลือได้ดี แต่เมื่อจะรับประทานก็ตัดข้าวทิ้งจนกระทั่งราวศตวรรษที่ 16 จึงเริ่มหันมารับประทานข้าวที่หมักกับปลา แล้วหลังจากนั้นไม่นาน จึงมีข้าวปั้นหน้าปลาดิบเกิดขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ แต่ละท้องถิ่นก็พัฒนาสูตรของตนเองตามความนิยม
มีเรื่องเล่าขานมากมายเกี่ยวกับกำเนิดของเอโดะ-มาเอะ นิงิริ หรือข้าวปรุงด้วยน้ำส้มสายชูพอออกรสชาติแล้วปั้นเป็นก้อน มีหน้าเป็นอาหารทะเลขนาดพอคำ บ้างก็ว่าอดีตนักบวชนิกายชินโตรูปหนึ่งในศตวรรษที่ 17 เป็นผู้ให้กำเนิด หลวงพี่มีฝีมือในการทำซูชิหมักเกลือแบบดั้งเดิม ลูกค้าบางคนมาแล้วต้องผิดหวังเพราะขายดีจนทำไม่ทัน หลวงพี่เองก็เบื่อที่จะต้องคอยบอกลูกค้าว่าปลายังหมักไม่ได้ที่ ในที่สุดนักบวชท่านนี้เลยหันมาขายข้าวกับปลาสดๆ คู่กัน ทำไปขายไป อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองเอโดะเมื่อปี ค.ศ.1957 มีผู้ทำอาหารฉุกเฉินแจกจ่ายให้ผู้รอดชีวิตในตอนนั้น ซึ่งก็คือข้าวปั้นหน้าต่างๆ
ในหนังสือเศรษฐศาสตร์ซูชิผู้เขียนกล่าวว่า ไม่แน่ชัดว่าใครทำซูชิแบบนี้เป็นคนแรก แต่คนแรกที่เปิดร้านขายจนประสบความสำเร็จชื่อฮานาย่า โยเฮอิ เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ.1799 ร้านตั้งอยู่แถวถิ่นที่เรียกว่า ริวโกยุในโตเกียว ลูกค้านั่งบนเสื่อตาตามิรับประทานอย่างมีพิธีรีตอง แต่เมื่อฮานาย่า โยเฮอิถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1858 ซูชิกลับกลายเป็นอาหารที่รับประทานกันง่ายๆ ร้านทำเสร็จแล้วส่งไปให้ลูกค้าตามบ้าน หรือไม่ก็วางขายตามแผงริมถนน
ซูชิกลายมาเป็นอาหารว่างที่ขาดไม่ได้ในยุคเอโดะ ขณะนั้นเมืองกำลังขยายตัว แรงงานหลั่งไหลเข้ามาจากชนบท ร้านขายอาหารและเครื่องดื่มราคาไม่แพงเปิดขึ้นมาให้บริการคนงาน ฮายะ-ซูชิเหมาะกับความต้องการของผู้บริโภคหน้าใหม่ๆ "หลังจากถือกำเนิดมาแค่ 40-50 ปี นิงิริซูชิก็เป็นที่นิยมยิ่งกว่าอูด้งหรือโซบะเสียอีก" นักเขียนคนหนึ่งในยุคนั้นให้ความเห็นไว้ ส่วนโมริซาดะ คิทากาวะ นักวิจารณ์สังคมฝีปากกล้าอีกคนหนึ่งเขียนไว้ในหนังสือโมริซาดะ มังโกะ เมื่อราวปี ค.ศ.1852 ว่ามีร้านซูชิในโตเกียวมากกว่าร้านขายก๋วยเตี๋ยวเกือบ 150 ต่อ 1
แผงซูชิพับเก็บได้ คนสองคนช่วยกันหาม ขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่ละแผงจะตั้งประจำตำแหน่งเดิมทุกคืน (ร้านปิดตอนกลางวัน) ด้วยเหตุที่พ่อค้าต้องขนอุปกรณ์และวัตถุดิบไปที่ร้านทุกวัน พวกเขาจึงมักจะเปิดร้านใกล้บ้านแถบที่ผู้คนพลุกพล่านบริเวณห้องอาบน้ำสาธารณะ
ภัตตาคารหรูๆ จะเสิร์ฟข้าวปั้นที่ใช้อาหารทะเลปรุงสุก ซึ่งลูกค้าถือว่ามีมูลค่าสูงกว่า แต่แผงริมทางต้องการทำซูชิปริมาณมากๆ ในเวลารวดเร็วจึงไม่อยากเสียเวลาต้มอาหารทะเล เน้นแต่ของดิบ เวลาใช้ปลาที่มีสารพิษสะสมในตัว เช่น ปลาโคก พ่อครัวจะเอาหัวฮอร์สเรดิชบดละเอียด ที่เรียกว่า วาซาบิ ป้ายลงไปแล้วจึงวางปลาทับเพื่อเจือจางความเป็นพิษ บางร้านเทซีอิ๊วไว้ให้ลูกค้าจิ้มแทนรสชาติที่ขาดหายไปเนื่องจากไม่ได้หมักปลาก่อน
ช่วงก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่กี่ปีมีภัตตาคารซูชิเปิดทั่วโตเกียวถึง 3,000 ร้าน ในจำนวนนี้ 800 แห่งเป็นแผงหาบเร่ข้างทาง แต่ซูชิต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างใหญ่หลวงภายหลังสงคราม เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นถูกระเบิดโจมตีเสียหาย กองทัพอเมริกันซึ่งเข้ายึดครองประเทศประกาศห้ามญี่ปุ่นมีกองเรือน้ำลึก รวมถึงยังได้มีการออกกฎหมายในปี ค.ศ.1947 ห้ามขายอาหารในที่สาธารณะ
สมาชิกสมาคมซูชิแห่งโตเกียวรวมตัวกันเรียกร้องให้เทศบาลผ่อนผันข้อห้าม ยอมให้ร้านค้าเปิดขายอาหารได้เสรีโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้าแทน ลูกค้าจะเอาข้าวสาร 1 ถ้วยไปให้ร้าน (พร้อมจ่ายเงินสดอีกจำนวนหนึ่งไม่มากนัก เรียกว่า "ค่าเครื่องปรุง") เพื่อแลกกับนิงิริ 10 ชิ้นใส่ห่อกลับไปทานที่บ้าน เนื่องจากกฎหมายห้ามญี่ปุ่นมีกองเรือน้ำลึก พ่อครัวจึงต้องพึ่งสัตว์น้ำที่หาได้จากแม่น้ำลำคลองไม่กี่อย่าง บ่อยครั้งกุ้งหอยปูปลาที่มียังไม่พอทำหน้าข้าวปั้น 10 ชนิดเลย เพราะฉะนั้น จึงต้องเสิร์ฟข้าวปั้นหน้าเดียวกันให้ลูกค้าอย่างละ 2 ชิ้น
พ่อค้าซูชิในต่างจังหวัดเริ่มเคลื่อนไหวขอร้องเทศบาลให้ผ่อนผันยอมให้ใช้วิธีรับจ้างผลิตทำนองนี้บ้าง และหันมาทำนิงิริแบบเอโดะมากขึ้นเพราะแบ่งเป็นคำๆ ได้ง่าย กระตุ้นให้นิงิริแพร่หลายกลายเป็นซูชิญี่ปุ่นที่คนรู้จักมากที่สุด และการเสิร์ฟนิงิริเป็นชุด ชุดละ 10 ชิ้น หน้าละ 2 ชิ้นก็ได้กลายเป็นมาตรฐานการเสิร์ฟข้าวปั้นในเวลาต่อมา พ่อครัวนิยมใช้ปลาดิบทำซูชิมากขึ้นเพราะว่าสะดวก ตู้เย็นไฟฟ้าเข้ามาแทนที่กระติกน้ำแข็งในช่วงทศวรรษ 1950 ความจำเป็นเดิมในการทำซูชิ-เพื่อถนอมปลาไม่ให้เสีย-ค่อยๆ หมดความหมาย ถึงข้าวจะปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูแต่ซูชิก็แทบไม่มีรสชาติของหมักดองหลงเหลืออยู่ พ่อครัวบางคนถึงกับเลิกทำซูชิส่งตามบ้าน เพราะเชื่อว่าซูชิจะอร่อยได้รสชาติเต็มที่ต้องรับประทานทันทีเท่านั้น
ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคเมจิ ร้านซูชิชั้นเลิศนิยมใช้ปลากระโทงแทงสีน้ำเงินมากกว่าปลาชนิดอื่น ปลาทูน่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มปลาราคาถูก ไม่มีคุณภาพเช่นเดียวกับปลาโอ ปลาโคก และปลาซาร์ดีน ซึ่งเนื้ออุดมด้วยไขมัน เมื่อตอนเริ่มนำทูน่ามาทำซูชิใหม่ๆ ในศตวรรษที่ 19 พ่อครัวมักจะต้องเอาเนื้อทูน่าไปแช่ซีอิ๊วก่อน อย่างไรก็ตามสมัยนั้นจะรับประทานแต่เฉพาะเนื้อแดงของทูน่าเท่านั้น เนื้อท้องที่อุดมด้วยไขมันจะถูกตัดทิ้งเอาไปทำอาหารเลี้ยงแมว ที่จริงคำว่า โทโร เพิ่งจะใช้แพร่หลายในทศวรรษ 1920 นี่เอง ก่อนหน้านั้นเนื้อส่วนนี้ถูกเรียกเสียๆ หายๆ ว่า อาบุ หรือ "มันเยิ้ม" ฟังแล้วไม่ชวนกินเอาเสียจริงๆ จังๆ
แต่ระยะเวลาหลายปีที่ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การยึดครองของสหรัฐได้เปลี่ยนทัศนคติการกินไปมาก "ภายหลังสหรัฐเข้ามายึดครองประเทศ ชาวญี่ปุ่นได้ลิ้มลองรสชาติของสเต๊กซึ่งเลี่ยนมาก อาหารมันๆ เริ่มเป็นที่ถูกปากชาวญี่ปุ่น" ทสึเนโนริ ไออิดะ พ่อค้าขายส่งปลาในตลาดทสึกิจิกล่าว ไม่นานหลังจากนั้นลิ้นชาวโตเกียวเริ่มขยับใกล้เคียงกับรสนิยมของชาวพาริเซียนและชาวชิคาโก พวกเขาถือว่าอาหารมันๆ มีแคลอรีสูงเป็นของโก้หรูไม่ต่างอะไรกับตับห่าน ช็อกโกแลต เนยแข็ง หรือเนื้อสเต๊ก ในทศวรรษ 1960 ภัตตาคารเริ่มเรียกร้องให้บริษัทผู้จัดจำหน่ายสรรหาเนื้อปลาส่วนที่เรียกว่า โทโร มาจากชื่อเต็มๆ ว่า โทโร-เครุ หรือ "ละลายบนลิ้น" ส่งให้มากขึ้น
อาคามิหรือทูน่าเนื้อแดงที่เคยมีราคาแพงที่สุด กลับกลายเป็นส่วนที่ถูกที่สุด ส่วนโอ-โทโร หรือเนื้อท้อง ซึ่งอุดมด้วยไขมันมากที่สุดและเคยมีราคาถูกที่สุดกลับตาลปัตรกลายเป็นสุดยอดเนื้อปลาดิบราคาแพง การเดินทางของปลาทูน่าสดๆ จากมหาสมุทรที่อยู่ไกลคนละทวีปมาถึงภัตตาคารในโตเกียวชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียวก็เป็นเรื่องน่าทึ่งทางโลจิสติกส์ ซึ่งเราจะพูดถึงในบทต่อๆ ไป
ความพลิกผันของซูชิและเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจยังมีให้ติดตามอีกมากมายเมื่อซูชิสไตล์โตเกียวแพร่หลายไปนอกประเทศ พร้อมๆ กับการเดินทางไปตั้งรกรากของพ่อครัวญี่ปุ่นในต่างแดน เมื่อญี่ปุ่นเปิดฉากรุกรานประเทศเพื่อนบ้านในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อครัวจำนวนมากมีโอกาสเดินทางไปตั้งรกรากหรือทำธุรกิจในประเทศต่างๆ ทั้งใกล้และไกล ซูชิแพร่หลายไปทั่วทั้งในสหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา อินเดีย และจีน เดี๋ยวนี้เชฟซูชิกลายเป็นคนดังระดับโลกไม่แพ้บรรดาลูกค้าของพวกเขาเอง
เส้นทางความเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมการกิน ทำให้ซูชิไม่ใช่แค่อาหารประจำชาติของญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นสุดยอดความอร่อยที่คนทั่วโลกถวิลหา สำหรับคนที่ชื่นชอบซูชิและผู้สนใจศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมการกินในภาวะโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ เรื่องราวในหนังสือเศรษฐศาสตร์ซูชิน่าจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่ว่านี้
3. การวิเคราะห์ธุรกิจขนาดย่อม
  ภาพรวมของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                ปัจจุบัน อาหารญี่ปุ่นทานง่ายและพอดีคำอย่าง ซูชิ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเพราะการหันมาบริโภคของแปลก ใหม่เป็นนิสัยของคนไทย ที่มีความนิยม ไม่ว่าจะเป็นเทรนการแต่งตัวตามแฟชั่น เกาหลี ญี่ปุ่นหรือการทำทรงผมตามแฟชั่นนักฟุตบอลหรือดารา เป็นต้น รวมถึงความนิยมในการบริโภคอาหารของคนไทยก็เช่นกัน ปัจจุบัน อาหารญี่ปุ่นก็มาแรง โดยเฉพาะ ซูชิซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา และวัยคนทำงาน รวมถึงกลุ่มคนที่รักสุขภาพ  ธุรกิจซูชิจึงขายง่าย เพราะสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าและมีตลาดที่สามารถขยาดกิจการได้ เช่นการขยายเป็นร้านแฟรนไชน์ หรือขายเป็นรถเข็นได้
  แนวโน้มการเจริญเติบโตของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อม ซูชิ เป็น สินค้าที่เป็นอาหารและบริโภคง่าย พอดีคำ มีสีสัน ดึงดูดใจลูกค้า และมีการพัฒนาฝีมือด้านการออกแบบหน้าตาของผลิตภัณฑ์ ไม่จำเจ คงความสด สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีราคาที่พอเพียงจึงมีโอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตได้ในอนาคต แต่ต้องลงทุนมากและต้องสร้างกิจการแบบห้างร้านหรือหุ้นส่วน หรือการขยายเป็นธุรกิจแฟรนไชน์ เป็นต้น


  จุดแข็งของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                1.  ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ เกรดA
                2.  ผลิตภัณฑ์ สด สะอาด มีคุณค่า ราคาพอเพียง
                3.  การสร้างสีสัน และพัฒนาหน้าตาของผลิตภัณฑ์ให้ดูน่ารับประทานอยู่เสมอ
                4.  มีลูกค้าประจำ ส่งเป็นอาหารว่างเช้า ว่างบ่าย
                5. ทำเลของร้าน ที่ดูสะดุดตา ย่านกลางเมือง แหล่งชุมชน ติดห้างสรรพสินค้า
               
จุดอ่อนของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                1.  กำลังคนในการผลิตน้อย เพราะเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว
                2.  ขาดโอกาสในการบริการส่งสินค้าตามที่ลูกค้าสั่งได้
โอกาสของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                1.  ปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภค อาหารญี่ปุ่น ซูชิ มากจึงขายง่าย
                2.  ได้รับคำเชิญไปจัดชิมตามห้างสรรพสินค้า หรืองานเปิดตัว ห้างร้าน
                3.  ผลิตภัณฑ์ มีความสด สะอาด มีคุณค่า ราคาพอเพียง จึงเป็นที่นิยมและได้รับความไว้วางใจ
                     ด้านคุณภาพ  ทำให้มีลูกค้าประจำ
อุปสรรคของธุรกิจขนาดย่อม  ป๊อปูล่า ซูชิ
                1.  ความไม่สะดวกในการบริการส่งสินค้า
5.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าหมาย  ( Vision , Mission , & Goals)
v  วิสัยทัศน์ (Vision)
                ในปัจจุบันถือว่าธุรกิจซูชิ มีความเจริญเติบโตมาก และมีการแข่งขันกันมากในด้าน การดีไซน์หน้าตาของอาหาร สำหรับทางร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ มีความมุ่งมั่นที่ผลิต อาหารที่มีคุณภาพสร้างคุณค่าทางโภชนาการแก่ลูกค้าและผู้บริโภค และมีการพัฒนาด้านสีสัน หน้าตาของอาหาร ให้เหมาะตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะเน้น เรื่องความสด สะอาด มีคุณค่า และราคาพอเพียง ยึดผลกำไรของลูกค้าและสุขภาพภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ
 พันธะกิจ  (Mission
                ใช้วัตถุดิบคุณภาพเกรด A เน้นความสด สะอาด
เป้าหมาย (Goals)
·       มีลูกค้าประจำ
·       ได้รับการรับรองจาก อย.และมีการทำ ซูชิแช่แข็ง
·       ขยายกิจการแฟรนไชน์
·       จัดทำเว็บไซด์และขาย ซูชิผ่านอินเตอร์เน็ต

6.  แผนเชิงกลยุทธ์ 




รูปภาพที่  1   ตราสินค้า ป๊อปปูล่าซูชิ
  กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate  Level  Strategy )
                ปรับปรุงและพัฒนาในด้านของการออกแบบหน้าตาของ ซูชิ เพราะอาหารญี่ปุ่น นอกจากรสชาติที่ดีแล้ว ต้องเน้นเรื่องศิลปะของอาหารด้วย ทางร้านจึง ต้องมีเทคนิคและศิลป์ในการปั้น ซูชิ ให้ออกมาน่ารับประทานและมีการดีไซน์หน้าตาให้ตรงตามกลุ่มลูกค้า จึงถือเอา เทคนิคนี้เป็น กลยุทธิ์ ของธุรกิจขนาดย่อมซูชิ เพื่อดึงดูดใจแก่ลูกค้าลดการจำเจ ของการรับประทาน อาหาร สร้างสีสันน่ารับประทาน สะอาด มีคุณค่า และราคาพอเพียง เพื่อสร้างรากฐานของธุรกิจและความพร้อมที่จะเติบโตในอนาคต
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business  Level  Strategy)
การลงทุนในขั้นตอนแรกอาจจะสูง แต่เมื่อธุรกิจดำเนินไป ต้นทุนก็จะอยู่ตัว การสั่งสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบจึงต้องมีเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งทางร้านจะสั่งวัตถุดิบเกรด ทำให้สินค้าออกมามีคุณภาพ แตกต่างจากคู่แข่งการตลาดตรงที่ วัตถุดิบ สด สะอาด รสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการ รับประทานง่ายพอดีคำ และยังราคาพอเพียง ทำให้ทางร้านมีกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น วัยทำงาน นักศึกษา รวมถึงคนที่รักสุขภาพ สามารถสร้างลูกค้าประจำได้

กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional  Level Strategy)
·        การบริหารจัดการ
- สร้างกลุ่มลูกค้า ประจำ
·       การตลาด
                        มีร้านขนาดเล็ก ของเจ้าของกิจการเอง และมีการรับออเดอร์สินค้าจากลูกค้าประจำ คือลูกค้าในหน่วยงานราชการ  จะจัดให้ลูกค้ามารับเองที่ร้าน มีตลาดรองรับเช่นการนำไป แนะนำ ชิมที่ถนนคนเดิน และออกบูทเล็กๆ จัดชิม และรับสั่งตามออเดอร์ลูกค้า แต่ต้องมารับเอง เพราะร้านเราไม่สามารถส่งได้ เนื่องจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว การตลาดของธุรกิจก็จะค่อนข้างแคบ แต่ตัวสินค้า ออกสู่ลูกค้าที่กว้างเกินกว่าการบริหารได้คนเดียว ในอนาคตต้องขยายกิจการ หรือการสร้างกลุ่มของธุรกิจเพื่อรองรับกับตลาดให้มากขึ้น
·       การผลิต
ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพเกรด A  ผลิตสินค้าที่เป็นมาตรฐานของรสชาติที่ดีและคงเดิม ปรับเปลี่ยนหน้าตาของสินค้า พัฒนารูปแบบของสินค้าให้ดูน่ารับประทานมากขึ้น และทันสมัยอยู่เสมอ ผลิตสินค้าตามออเดอร์ลูกค้าสั่ง และผลิตตามกลุ่มลูกค้า  เน้น ความสด สะอาด มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ
·       การเงิน
- ลงทุนเริ่มต้นประมาณ  20000  บาท
- เงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ  1000   บาท
- กำไรอยู่ที่ 70 % ของยอดขาย

7.  แผนการบริหารจัดการ  
v  รูปแบบธุรกิจ
เป็นธุรกิจขนาดย่อม รูปแบบการดำเนินการแบบกิจการเจ้าของคนเดียว
ลักษณะสำคัญของุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว
1. เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว
2. บริหารงานทุกด้านของธุรกิจด้วยการตัดสินใจคนเดียว
3. การประกอบธุรกิจทำโดยใช้ทรัพย์สินส่วนตัวของตนเอง
4. มีขอบเขตของธุรกิจ เน้นความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นสำคัญ
5. มีธุรกิจในชุมชน ในจังหวัดที่ตนเองอยู่
7. ได้ผลกำไรเป็นค่าตอบแทนคนเดียว




7.1 เป้าหมายทางการตลาด
ระยะแรก หลังเริ่มกระบวนการผลิตในรูปแบบธุรกิจขนาดย่อมแบบเจ้าของคนเดียว จะทำตลาดเฉพาะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น นักศึกษา คนทำงานที่ไม่มีเวลาทานอาหารเช้า ลูกค้าก็จะสั่งเป็นอาหารเช้า รับประทานประจำ จึงมีลูกค้าประจำส่วนใหญ่ทำงานตามหน่วยงานราชการ
ระยะที่สอง จะขยายตลาดไปสู่อำเภอใกล้เคียง และจักบูทชิม ในระยะเวลา 6 เดือนเพื่อสร้างความรู้จักกับกลุ่มลูกค้าอาจจะครอบคลุมลูกค้าอำเภอใกล้เคียงด้วย
ระยะที่ สาม จะขยายเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีหุ้นส่วน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต อาจจะให้เวลาในการดำเนินงานประมาณ 1 ปีในการสร้างกลุ่มธุรกิจจากเจ้าของคนเดียวเป็นหุ้นส่วนได้
ระยะที่ สี่ จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างเครือข่ายเพื่อเป็นธุรกิจแฟรนไซด์ ให้ได้ภายใน ระยะเวลา 3 ปีจะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั้งในจังหวัดศรสะเกษและทั่วประเทศ
ระยะที่ ห้า จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งออก โดยจะสร้างเป็นแพคเก็ตอาหารแช่แข็ง แต่ความเป็นไปได้อาจจะน้อยเพราะถ้าเราเน้นความสดของอาหาร จึงคิดและวางแผนไว้เป็นระยะยาวในอนาคต
7.2 การกำหนดลูกค้าเป้าหมาย
1. กลุ่มกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา ที่นิยมตามกระแส แฟชั่นต่างๆรวมถึงการหันมาบริโภคอาหารญี่ปุ่นซึ่งก็สามารถดึงกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้มากและจะเจาะกลุ่มนักศึกษาที่อยู่ต่าง อำเภอด้วยในอนาคต                                                               2. กลุ่มกลุ่มคนทำงาน  เป็นลูกค้าประจำอยู่แล้ว ซึ่งทางร้านยังไม่สามารถบริการส่งได้ ลูกค้ามารับเองในอนาคตต้องขยายกิจการออกอีกจึงจะเพิ่มลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น                                                                                                                                3. กลุ่มคนรักสุขภาพ จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่แวะมาชิม อยู่ประจำ จะไม่แน่นอน
ตลาดเป้าหมายหลักของการจำหน่าย สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา        ประมาณ ร้อยละ  50
2.กลุ่มคนทำงาน                 ประมาณ ร้อยละ  30
3.กลุ่มคนรักสุขภาพ           ประมาณ ร้อยละ  20
โดยใช้ การจัดชิม ที่ลานถนนคนเดินวันอาทิตย์เป็นการเปิดช่องทาง เพื่อให้ลูกค้าแวะมาซื้อสินค้าที่ร้าน หรือสั่ง สินค้าได้

7.3 กลยุทธ์ทางการตลาด
                 รุกตลาดในอำเภอเมืองศรีสะเกษ เน้นคุณภาพของสินค้า มีคุณค่าของโภชนาการ เน้นการดูแลสุขภาพของลูกค้าเป็นสำคัญ และราคาพอเพียง

7.3.1 กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์
                - เน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เกรด A ผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานแล้ว
7.3.2 กลยุทธ์ด้านราคา
                ราคามาตรฐาน เน้นความสด สะอาด มีคุณค่า ราคาพอเพียง ทุกชิ้นเพียง 5 บาท
7.3.3 กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย
                จัดจำหน่ายเองที่ ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ
                จัดบูทชิม จำหน่ายทุกวันอาทิตย์ที่ลานถนนคนเดิน
o    สินค้าและบริการ



รูปซูชิ หน้ารวม

·       ลักษณะจุดเด่นของสินค้า/บริการ
                                ผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่น ซูชิ  ร้านป๊อปปูล่า
                                สด สะอาด มีคุณค่า ราคาพอเพียง
                                สินค้าสุดยอดความนิยม ของกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน และคนรักสุขภาพ                                
ภาพตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ป๊อปปูล่า ซูชิ
2









พื้นที่จำหน่าย และตลาดเป้าหมาย
พื้นที่จำหน่าย
                                1.  ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ ที่อยู่ 988/1 ถนน วันลูกเสือ ต.เมืองเหนือ  อ. เมือง  จ.ศรีสะเกษ
33000   โทร. 089-4236525  Email.papplp2010@hotmail.co.th
v  กลุ่มลูกค้า
                                1.  กลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา คนทำงาน และคนรักสุขภาพ
                                2.  ลูกค้าในหน่วยงานราชการ ต่างๆ




v  ขั้นตอนการผลิต

การทำซูชิ  Sushi

 


ส่วนผสมการหุงข้าวญี่ปุ่น 
-      ข้าวญี่ปุ่น                      2              ถ้วย
-      น้ำสะอาด                      2 1/2    ถ้วย
P1010014




วิธีทำ
1.             ล้างหรือซาวข้าวด้วยมือ เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก ประมาณ 3-4 ครั้ง หรือจนกระทั่งน้ำในเมื่อหุงข้าวสุกแล้วเมล็ดข้าวใส
2.            

 
หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เพื่อความสะดวกในการอุ่นและเมื่อข้าวสุก ต้องปล่อยให้ข้าวระอุไม่น้อยกว่า 10 นาที แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำปรุงข้าวซูชิ
3.             เมื่อข้าวสุกแล้ว ให้พักข้าวให้เย็น ซัก 10 นาที
ก่อนยกฝาหม้อออก แล้วใช้ คิทเช่นโรล
ปิดไว้แทนครับ ให้ตักข้าว ใส่อ่างไม้ หรือถ้วยใบใหญ่
เทน้ำส้มสายชูที่เราผสมแล้ว คนให้เข้ากัน
คนเบาๆ หลังจากนั้น ก็ใช้ผ้าขาวปิดไว้
ข้าวจะได้ไม่แห้ง
ส่วนผสมการทำน้ำส้มปรุงข้าว
-      น้ำส้มสายชู                  1/4          ถ้วย
-      น้ำตาลทราย  1/4          ถ้วย
-      เกลือ                               1/2          ช้อนชา
-      มิริน                               1/2          ช้อนชา
อุปกรณ์ทำอาหารญี่ปุ่น 
http://www.thaigoodview.com/files/u1238/makisu.jpg 




เสื่อไม้ไผ่สำหรับม้วน มีไว้สำหรับใช้ทำซูชิ                  กระดาษฟอยท์ห่อเสื่อไม้ไผ่





เขียง  - มีด                                                                                            กล่อง    ไม้ครีบ
http://www.thaigoodview.com/files/u1238/15636L.jpg
http://www.thaigoodview.com/files/u1238/kijakusi.jpg




ถังไม้ใส่ข้าว ใช้เตรียมข้าวที่ใช้ทำซูชิโดยเฉพาะ                           ไม้พายสำหรับคนข้าว






http://www.thaigoodview.com/files/u1238/150px-Urokotori_FishScaler.jpghttp://www.thaigoodview.com/files/u1238/tk60601.jpgถาดใส่ซูชิ                                                                                                              ถุงมือ  - บล็อคพิมพ์



http://www.thaigoodview.com/files/u1238/180px-Ami_shakushi_Scoop.jpgที่ขูดหรือฝน ใช้ฝนหัวผักกาด ขิง หัวมันต่าง ๆ                           ที่ถอดเกล็ดปลา เป็นที่คอดเกล็ดปลาประจำครัว
http://www4.pantown.com/data/5495/board20/14-20050926183628.jpg


                                                                                                                                                                                             
กระชอน มีไว้สำหรับตักเศษเล็ก ๆ จากหม้อซุป                ชาม ช้อน
หน้าซูชิ


การเตรียมหน้า ซูชิ
Ø ไข่ปลาปรุงรสสีต่างๆ
Ø ไข่กุ้ง
Ø ยำสาหร่ายทะเล
Ø สลัดผักมายองเนส
Ø 12หมึกไอกะปรุงรสซอสพริก
Ø กุ้งซูชิ
Ø ปลาหมึกลวก
Ø แมงกะพรุน
Ø สาหร่ายสดเกรด A
Ø แตงกวา แครอท









ประเภทของซูชิ
  • นิงิริซูชิ (Nigiri Sushi) เป็นซูชิพบได้บ่อยในภัตตาคาร ซูชิจะมีลักษณะข้าวเป็นก้อนรูปวงรีแล้ววางเนื้อปลาดิบ ปลาหมึก ฯลฯ ไว้ข้างบน อาจจะใส่วาซาบิเล็กน้อย หรือตกแต่งด้วยสาหร่ายทะเลก็ได้ ซูชิแบบนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด
  • มากิซูชิ (Maki Sushi) มีวิธีทำ 3 แบบด้วยกัน (1) ม้วนข้าวไว้ด้านในสาหร่ายทะเลอยู่ด้านนอก (2) ม้วนสลับกับแบบแรกโดยที่สาหร่ายอยู่ด้านในส่วนข้าวอยู่ด้านนอก (3) ห่อเป็นรูปกรวย เรียกว่า แคลิฟอร์เนียเทมากิ
  • ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi) เป็นการจัดปลาดิบ ปลาหมึก กุ้ง ผัก ฯลฯ ที่หั่นเป็นชิ้นๆ วางเรียงบนข้าวที่ใส่อยู่ในกล่อง
  • โอชิซูชิ (Oshi Sushi) หรือรูปแบบคันไซจากเมืองโอซาก้า เอาข้าวมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาวหั่นขนาดพอดีให้รับประทานเป็นคำๆ แล้ววางเนื้อปลาไว้ด้านบน
  • อินะริซูชิ ซูชิที่นำเนื้อมาใส่ในเต้าหู้ที่มีลักษณะเป็นถุง
การห่อมากิซูชิ
















การห่อแบบแคลิฟอร์เนียมากิ














การทำข้าวปั้นหน้าต่างๆแบบนิริงิซูชิ











แพคใส่กล่องติดตราของร้าน





















บทสรุป
"ซูชิ" กล่าวได้ว่าเป็นอาหารจานหลักจากแดนปลาดิบ ที่มีส่วนประกอบของข้าวสูตรญี่ปุ่นที่ปั้นเป็นก้อนพอดีคำ จัดวางหน้าบนข้าวปั้น ด้วยวัตถุดิบจากทะเลจำนวนมาก ทั้งปลาดิบหลากชนิด กุ้ง หนวดปลาหมึกยักษ์ ไข่กุ้ง ไข่ปลาคาเวียร์ เป็นต้น รับประทานคู่กับซอสญี่ปุ่นโชยุ และวาซาบิรสเผ็ดร้อน เมื่อรับประทานรวมกัน จะมีรสชาติกลมกล่อมทั้งความนุ่มของเนื้อข้าว ความหวานของเนื้อปลา ผสมผสานกับน้ำซอสได้อย่างลงตัว
                ด้วยกระแสความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นจึงมีการทำธุรกิจขนาดย่อมของร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ เกิดขึ้นซึ่งเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว การบริหารจัดการไม่เกิดความยุ่งยากทั้งด้านการบริหารร้านและบริหารเงิน แต่ปัญหาก็เกิดเพราะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเมื่อลูกค้าสั่งมากกำลังการผลิตไม่เพียงพอ และไม่มีคนส่งสินค้าให้ลูกค้าประจำได้ ธุรกิจขนาดย่อม ร้านป๊อปปูล่า ซูชิ จึงมีแผนทางธุรกิจที่จะขยายเป็นธุรกิจหุ้นส่วนในระยะเวลา 1 ปี และวางแผนให้เป็นธุรกิจ   เฟรนไชน์ในระยะเวลา 3 ปี เพื่อต้องการเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศไทย และแผนธุรกิจระยะยาวได้วางแผนการทำซูชิ แพคเก็ตแช่แข็งซึ่งอาจเป็นไปได้น้อยแต่ก็เป็นแผนธุรกิจระยะยาวที่ได้วางไว้ในอนาคต                                                     ร้าน ป๊อปปูล่า ซูชิ ได้ลงทุนเริ่มต้นที่ 20000   บาท และใช้เงินหมุนเวียนในแต่ละครั้ง ไม่ต่ำกว่า 1000 บาท สำหรับกำไรอยู่ที่  70 %  ของยอดขาย ประมาณการผลิตต่อเดือนอยู่ที่ คละหน้า 30  หน้า 6000  ชิ้น ยอดขายต่อเดือน ประมาณ 30000 บาท กำไรหลังหักค่าใช่จ่ายเหลือประมาณ  18000 – 20000 บาทต่อเดือน ราคาขายชิ้นละ บาท








บรรณานุกรม
ร้าน Popular Sushi   ตั้งอยู่เลขที่   988/1   ถ. วันลูกเสือ   ต.เมืองใต้
               อ.  เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
                www.genyfood.com