วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา บทที่ 3 : ระบบข้อมูลโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

กรณีศึกษา บทที่ 3 : ระบบข้อมูลโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
               โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจรที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย  เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันมีแพทย์มากกว่า 600 ท่าน ให้บริการผู้ป่วย 850,000 คนต่อปี ระบบในปัจจุบันของโรงพยาบาลได้รับการออกแบบโดยเน้นที่ข้อมูลของคนไข้ (Patient Focus) ข้อมูลจะเก็บอยู่ในฐานข้อมูลกลาง ไ ม่ว่าคนไข้จะเดินไปจุดใด ระบบสามารถดึงข้อมูลมาได้ทันทีเริ่มตั้งแต่เมื่อคนไข้มาถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลสามารถค้นหาประวัติคนไข้จากฐานข้อมูลกลางได้ทันทีจากทั้งบาร์โค้ด (Hospital Number : HN) หรือชื่อของคนไข้ก็ได้ ถ้าเป็นคนไข้ที่นัดแพทย์ไว้ ข้อมูลจะถูกส่งไปรอในคิวของแพทย์คนดังกล่าว ถ้าไม่ได้นัดไว้ ข้อมูลจะถูกส่งไปรอยังคิวของแพทย์ที่มีคิวสั้นที่สุด
                ที่ห้องตรวจของแพทย์จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกห้อง ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบได้ว่ามีคนไข้รอคิวอยู่กี่คน คนที่กำลังจะเข้าตรวจคือใคร มีประวัติการเจ็บป่วยอย่างไร เมื่อคนไข้มาถึงก็สามารถรับการตรวจได้ทันที นอกจากนี้หากต้องส่งตรวจเลือด / ปัสสาวะ หรือ เอ็กซเรย์ ระหว่างที่คนไข้เดินกลับมาผลแล็บ หรือ ผลเอ็กซเรย์ ดังกล่าวจะถูกส่งออนไลน์มายังแพทย์ที่ตรวจ ทำให้คนไข้ไม่ต้องรอนาน
                นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในเรื่องของความถูกต้องแม่นยำ โดยแพทย์จะมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวินิจฉัยโรคที่ดีขึ้น โดยระบบสามารถดึงผลแล็บมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมในรูปแบบกราฟได้ ผลเอ็กซเรย์ก็เป็น ดิจิทัล ไม่ต้องไปพิมพ์เป็นฟิล์ม หมดปัญหาเรื่องฟิล์มไม่ชัดเจนหรือเสีย ทำให้ไม่ต้องเรียกคนไข้มาตรวจใหม่และประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย แพทย์ยังสามารถเลือกชื่อยาที่จะสั่งให้คนไข้จากระบบ
                การบริการในส่วนอื่นๆ เช่น การชำระค่ารักษาพยาบาล ห้องจ่ายยา ข้อมูลจะถูกส่งผ่านระบบไปก่อนที่คนไข้จะเดินทางไปถึง และจะมีจอแสดงสถานะของคนไข้ที่รอคิวอยู่
คำถาม

ฐานข้อมูลกลางของคนไข้ที่โรงพยาบาลจัดเก็บสามารถนำมาวิเคราะห์โดยใช้ดาต้าไมนิ่งได้อย่างไรบ้าง
ตอบ- การวิเคราะห์โรคสามารถวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น อาจจะมีการเรียกข้อมูลโรคนั้นๆ จากคนไข้รายก่อนมาประกอบการวิเคราะห์

- สามารถนำมาวิเคราะห์อาการของคนไข้ว่าอยู่ในระดับไหน คนไข้คนใดควรเร่งด่วนต้องรีบทำการวินิจและต้องรีบเร่งรักษาก่อน
   - ทำให้การวินิจฉัยคนไข้ทำได้ถูกต้องแม่นยำและมีความรวดเร็วโดยดูจากประวัติคนไข้
     - สามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ในอนาคตได้ของคนไข้ได้โดยดู ได้จากประวัติการรักษาของคนไข้และสามารถป้องกันได้ก่อนอย่างมีประสิทธิภาพ
    - สามารถนำข้อมูลการรักษาต่างๆ มาจัดทำเป็นแผนป้องกัน โรคที่กำลังจะระบาด
หากโรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบให้เป็น Web Services ท่านคิดว่าระบบควรมีความสามารถในการให้บริการด้านใดบ้าง
ตอบ-          ตรวจเช็คประวัติของคนไข้รายนั้นๆ ผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
-          ตรวจเช็คค่าใช้จ่าย การให้บริการต่างๆ
-          ตรวจเช็ค เซอร์วิส ด้านการประกันภัย ประกันสุขภาพ ว่าครอบคลุมโรคไหนอย่างไร
-          มีการนำการวินิจฉัยโรคมาแนะนำให้ประโยชน์
-          มีการนำความรู้ทางด้านการแพทย์มาเผยแพร่
-          ตั้งเว็บบอร์ดถาม-ตอบข้อมูล
-          แชท ออนไลน์สายคุณหมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น